Prich99
พีริช มาร์เก็ตติ้ง 99 จำกัด

Search
Close this search box.
ดูแลสุขภาพ

ภาวะไขมันในเลือดสูงอันตราย อย่าชะล่าใจ  ภาวะไขมันในเส้นเลือดสูง เป็นภาวะที่ร่างกายมีไขมันในเลือดมากกว่าในภาวะที่ร่างกายเป็นปกติซึ่งไขมันที่สูงนั้นอาจเป็นไขมันประเภทโคเลสเตอรอล (Cholesterol) หรือ ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) ก็ได้ โดยภาวะไขมันในเส้นเลือดสูง เรียกว่าHyperlipidemia ซึ่งจะมีการจับตัวของไขมันที่ผนังหลอดเลือด ซึ่งยิ่งมีมากเท่าไรจะยิ่งทำให้เลือดไหลได้ลำบากมากขึ้นเท่านั้น และถ้ามีมากจนอุดตันหลอดเลือดก็จะยิ่งมีอันตรายมากขึ้น เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เส้นเลือดตีบอุดตัน เลือดไหลไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายไม่เพียงพอทำให้เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

 

ค่าปกติของไขมันในเลือด

Total cholesterol levels:

 

ระดับที่ต้องการ: ต่ำกว่า 200 mg/dL

สูงปานกลาง: 200 – 239 mg/dL

สูง: มากกว่า 240 mg/dL

LDL (ไขมันชนิดเลว)cholesterol levels:

 

ระดับที่ต้องการสำหรับผู้ที่เป็นโรคหัวใจหรือมีความเสี่ยงสูง: ต่ำกว่า 70 mg/dL

ระดับที่ต้องการfor people at risk of heart disease: ต่ำกว่า 100

ระดับที่ต้องการ: 100 – 129

สูงปานกลาง: 130 – 159

สูง: 160 – 189

HDL (ไขมันชนิดดี)cholesterol levels:

 

ผลไม่ดี: ต่ำกว่า 40 mg/dL

ค่าที่ยอมรับได้: 40 – 59

ระดับที่ต้องการ: 60 or สูงกว่า

Triglyceride levels:

 

ระดับที่ต้องการ: ต่ำกว่า 150 mg/dL

สูงปานกลาง: 150 – 199

สูง:สูงกว่า 200

ผู้ใหญ่ที่ค่าไขมันปกติควรจะตรวจซ้ำทุก 5 ปี หากไขมันในเลือดสูงควรตรวจซ้ำอีก 2-6 เดือน

 

สาเหตุของการเกิดภาวะไขมันในเลือดสูง

· ภาวะอ้วนหรือน้ำหนักเกิน เกิดจากการรับประทานอาหารประเภทไขมันเป็นประจำ ทำให้ร่างกายไม่สามารถย่อยสลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไขมันที่ย่อยสลายไม่ทันจึงไปสะสมอยู่ในเส้นเลือด ซึ่งยิ่งมีจำนวนมากก็ยิ่งเสี่ยงต่อการเกิดอันตราย

 

· ขาดการออกกำลังกายสม่ำเสมอ เนื่องจากการออกกำลังกายก็เป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยในการเผาผลาญไขมันส่วนเกินต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ดังนั้นหากขาดการออกกำลังกายย่อมหมายถึงการขาดตัวช่วยอีกทางหนึ่งในการที่จะเผาผลาญไขมันนั่นเอง

 

· การดื่มสุราหรือสูบบุหรี่เป็นประจำ เพราะยิ่งเป็นการส่งเสริมทำให้เกิดการสะสมไตรกลีเซอไรด์ในกระแสเลือดมากขึ้น

 

· รับประทานอาหารที่มีไขมันโคเลสเตอรอลสูง หรือรับประทานอาหารมากเกินความจำเป็นของร่างกาย เนื่องจากไขมันที่สะสมอยู่ก่อนหน้านั้นยังไม่สามารถย่อยสลายได้หมด เมื่อมีการรับประทานอาหารชุดใหม่เข้าไปโดยเฉพาะอาหารประเภทไขมันก็จะเป็นการสะสมไขมันส่วนเกินให้เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากร่างกายเผาผลาญไขมันไม่ทันนั่นเอง

 

· โรคหรือการใช้ยาบางชนิด เช่น โรคไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติ โรคเบาหวาน โรคไต ยาขับปัสสาวะ ยาสเตียรอยด์ ยาคุมกำเนิด เป็นต้น ซึ่งอาจส่งภาวะแทรกซ้อนให้มีการสะสมไขมันในเส้นเลือดได้

 

· พันธุกรรม (Familial hypercholesterolemia: FH) เป็นภาวะที่ระดับคอเลสเตอรอลเกิดจากกรรมพันธุ์ โดยที่ระดับคอเลสเตอรอลแอลดีแอล (LDL) ในเลือดสูงกว่าปกติ เนื่องจากผลกระทบที่ยีนมากกว่า 100 ยีนในร่างกาย มีผลต่อการจัดการระดับคอเลสเตอรอลของร่างกาย กล่าวคือ ได้รับภาวะนี้จากกรรมพันธุ์ของพ่อหรือแม่ ซึ่งทำให้เกิดโรคหัวใจหลอดเลือดตั้งแต่เด็ก ประมาณร้อยละ 10

 

 

สัญญาณเตือนว่ามีไขมันในเลือดสูง

· มือสั่น ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว เนื่องจากการมีไขมันในหลอดเลือดจะทำให้เลือดไหลเวียนได้ไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้หัวใจต้องทำงานมากขึ้นโดยการบีบตัวเพื่อนำเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ดังนั้นจึงเกิดอาการใจสั่น และมือสั่น หัวใจเต้นเร็ว หรืออาจจะมีอาการชาที่ปลายมือปลายเท้าร่วมด้วย เนื่องจากไขมันที่อุดตันหลอดเลือดทำให้เลือดไหลเวียนไม่ดี จึงไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงที่ปลายมือปลายเท้าได้อย่างเต็มที่นั่นเอง

 

· ปวดศีรษะได้ง่ายและปวดศีรษะมาก เนื่องจากไขมันที่อุดตันในหลอดเลือดทำให้ความดันเลือดไม่คงที่ จึงส่งผลให้เกิดอาการปวดศีรษะ หน้ามืด วิงเวียนเวลาที่เปลี่ยนท่าลุกหรือนั่งเร็วๆ หรือเวลาที่ตื่นนอน หรือในบางครั้งอาจจะส่งผลให้เกิดการวูบหมดสติ และล้มลงจนเป็นอันตรายได้

 

· มีอาการเวียนศีรษะ และหน้ามืด คนที่มีไขมันในเลือดสูงมักจะมีอาการเวียนศีรษะหน้ามืดเหมือนจะเป็นลมอยู่บ่อยครั้ง เมื่อต้องทำกิจกรรมหรือออกแรงมาก ๆ ก็จะเหนื่อยง่ายกว่าปกติและอาจจะเป็นลม จึงทำให้ไม่อยากออกกำลังกาย และหากยิ่งรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงเข้าไปก็จะยิ่งทำให้เกิดไขมันส่วนเกินในเลือดสูงยิ่งขึ้นไปอีก

 

· มีอาการเหนื่อยง่ายกว่าปกติ คนที่มีภาวะไขมันในเลือดสูงทำให้การบีบตัวของหัวใจเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ซึ่งในเลือดนั้นจะมีการลำเลียงออกซิเจนไปที่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายไปพร้อมกันด้วย ดังนั้นเมื่อร่างกายต้องการใช้ออกซิเจนในเวลาที่มีการทำกิจกรรมหรือออกกำลังกายจึงทำให้ได้รับไม่เพียงพอ จนรู้สึกว่าเหนื่อยง่าย หายใจไม่ทันนั่นเอง

 

· มีอาการแน่นหน้าอก ผู้ที่มีไขมันในเลือดสูงจนทำให้เกิดก้อนไขมันในหลอดเลือด อาจมีบางช่วงที่ก้อนไขมันนั้นไปอุดตันที่หลอดเลือดส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ทำให้หัวใจต้องพยายามบีบตัวให้แรงขึ้นเพื่อให้ร่างกายและสมองยังได้รับเลือดไปเลี้ยงอย่างเพียงพอ จึงทำให้เกิดอาการแน่นหน้าอก

 

 

โรคและอันตรายที่เกิดจากการมีไขมันในเลือดสูง

การมีไขมันในเลือดสูงทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคที่สำคัญคือ โรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งมักจะเป็นอันตรายต่อชีวิตทั้งสิ้น

 

1.โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease: CAD/Coronary Heart Disease: CHD) เกิดจากการเกาะของคราบไขมัน (Plaque) ภายในผนังหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งเป็นการสะสมของคอเลสเตอรอลและสารต่าง ๆ ภายในหลอดเลือด ส่งผลให้หลอดเลือดตีบและอุดตันจนปิดกั้นการไหลเวียนของกระแสเลือด ผู้ป่วยจึงมีอาการเจ็บหน้าอก หายใจติดขัด หรือรุนแรงถึงขั้นหัวใจวาย หากหัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้

 

อาการของโรคหลอดเลือดหัวใจ มีอาการดังนี้

– เจ็บหน้าอก (Angina) ผู้ป่วยจะรู้สึกแน่นหน้าอกบริเวณกลางหรือด้านซ้ายของหน้าอกลามไปจนถึงช่วงแขน คอ กราม ใบหน้าหรือช่องท้อง และอาจบรรเทาลงได้เมื่อนั่งพัก หรือหยุดกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความเครียด โดยสาเหตุมักเกิดจากการที่หัวใจต้องการเลือดไปเลี้ยงมากขึ้นจากสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น การออกกำลังกาย หรือความเครียด เป็นต้น

 

– หายใจติดขัด ผู้ป่วยอาจมีอาการหายใจติดขัดหรือหอบเหนื่อยรุนแรง หากหัวใจไม่ได้รับเลือดที่เพียงพอในการส่งต่อไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

 

– หัวใจวาย หลอดเลือดอุดตันอาจก่อให้เกิดภาวะหัวใจวายและอาจถึงตายได้หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาทันเวลา ผู้ป่วยมักมีอาการแน่นหน้าอกและปวดบริเวณหัวไหล่หรือแขน ประกอบกับการหายใจติดขัดและเหงื่อออกก่อนเกิดภาวะหัวใจวาย หากผู้ป่วยมีภาวะความดันตกหรือหัวใจเต้นผิดจังหวะร่วมด้วย อาจทำให้ผู้ป่วยหมดสติและเสียชีวิตได้

 

– หัวใจล้มเหลว ภาวะหัวใจล้มเหลวอาจเกิดขึ้นได้ทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง โดยเกิดขึ้นในขณะที่หัวใจอ่อนแรงจนไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ผู้ป่วยจึงมีอาการหายใจติดขัดจากภาวะน้ำท่วมปอด เนื่องจากกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงและไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ หรือหากมีอาการน้ำท่วมปอดรุนแรงอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้

 

2. โรคหลอดเลือดสมองตีบตันหรืออัมพฤกษ์-อัมพาต โรคหลอดเลือดสมองประเภทIschemic Stroke เป็น “ภาวะหลอดเลือดสมองตีบตัน” หรือ “ภาวะสมองขาดเลือด” พบได้ประมาณ 80% ของโรคหลอดเลือดสมอง มีสาเหตุมาจากการเสื่อมสภาพของหลอดเลือดจากการสะสมของคราบไขมัน หินปูน ที่ผนังหลอดเลือดชั้นในจนหนานูน แข็ง ขาดความยืดหยุ่น ทำให้รูของหลอดเลือดค่อยๆ ตีบแคบลง ส่งผลให้ประสิทธิภาพของการลำเลียงเลือดลดลง หรืออาจเกิดจากลิ่มเลือดจากหัวใจ หรือการปริแตกของผนังหลอดเลือดหลุดมาอุดตันหลอดเลือดในสม

อาการแสดงของอัมพฤกษ์-อัมพาต (โรคหลอดเลือดสมอง) ได้แก่ หน้าเบี้ยว แขนขาชาหรืออ่อนแรง พูดไม่ชัด พูดไม่ออก การมองเห็นผิดปกติ เวียนศีรษะ เดินเซ ซึมลง หรือปวดศีรษะรุนแรงแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

 

 

อัตราการเสียชีวิตของผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง

ในผู้ที่มีไขมันในเลือดที่สูงมาก ๆ อัตราการเสียชีวิตมักจะมาจากโรคหลอดเลือดหัวใจ โดยจากข้อมูลทางสถิติกระทรวงสาธารณสุข (2561) พบว่า คนไทยป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดจำนวน 432,943 คน มีอัตราการเสียชีวิต 20,855 คนต่อปี หรือชั่วโมงละ 2 คน ซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน ก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว สังคม และประเทศชาติอีกด้วย

 

หลักเกณฑ์ในการพิจารณาเจาะเลือดเพื่อตรวจไขมันในเลือด ผู้ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ถือว่าเป็นผู้ที่เสี่ยงต่อการมีไขมันในเลือดสูงกว่าปกติ

 

ผู้ชายที่มีอายุมากกว่า 40 ปี และผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 50 ปี หรือผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน

ผู้ที่มีหลักฐานว่ามีโรคหลอดเลือดตีบ เช่น หลอดเลือดขาหรือหัวใจตีบ

ผู้ที่เป็นเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2

ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง

ผู้ที่มีประวัติพ่อแม่พี่หรือน้องเป็นโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดก่อนวัย

ผู้ป่วยโรคอ้วนลงพุง

ผู้ที่เป็นโรคเรื้อรังบางชนิดที่พบว่ามีอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดสูง เช่น โรครูมาตอยด์ โรคSLE Psoriasis

ผู้ที่ไตเสื่อมอัตราการกรองของไตน้อยกว่า 60

ผู้ที่ตรวจร่างกายแล้วพบว่ามีหลักฐานว่าไขมันสูงในครอบครัว

 

 

การป้องกันไขมันในเลือดสูง

ไขมันในเลือดสูงสามารถป้องกันได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และพฤติกรรมในการใช้ชีวิตบางอย่าง อีกทั้งยังสามารถช่วยป้องกันความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดได้อีกด้วย ซึ่งสามารถทำได้ดังนี้

 

รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารที่ไขมันอิ่มตัวสูงในปริมาณมาก เช่น เนื้อสัตว์ติดมัน เนื้อสัตว์แปรรูป ของทอด ผลิตภัณฑ์จากนม และอาหารที่มีส่วนประกอบของไขมันทรานซ์ ได้แก่ อาหารที่มีส่วนประกอบ หรือใช้น้ำมันเติมไฮโดรเจนในการปรุง เช่น อาหารขยะ ครีมเทียม มาการีน ขนมขบเคี้ยว และอาหารแปรรูปแช่แข็ง เป็นต้น

 

– รับประทานไขมันดีในปริมาณที่พอเหมาะ ร่างกายไม่สามารถขาดไขมันได้ จึงควรหันมารับประทานไขมันดีในปริมาณที่พอเหมาะ โดยไขมันดีในอาหารได้แก่ ถั่วเปลือกแข็ง อะโวคาโด ปลาทะเลน้ำลึก เป็นต้น

 

– รับประทานผัก ผลไม้ และธัญพืชให้มากขึ้น มีกากใยในปริมาณมากอาจช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลได้

 

– ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การออกกำลังกายจะช่วยเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลชนิดที่ดีในร่างกาย และช่วยกำจัดคอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดีให้ลดลงได้

 

– ควบคุมน้ำหนัก ยิ่งน้ำหนักตัวมากก็จะยิ่งทำให้ร่างกายเสี่ยงต่อโรคร้ายแรงต่าง ๆ รวมถึงภาวะคอเลสเตอรอลสูง ดังนั้นการมีน้ำหนักที่เหมาะสมจะช่วยป้องกันระดับคอเลสเตอรอลสูงและโรคร้ายแรงอื่นได้

 

– เลิกสูบบุหรี่และหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ จะช่วยให้ความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะคอเลสเตรอลสูง รวมถึงโรคเกี่ยวหัวใจและหลอดเลือดลดลงได้

การเข้ารับการตรวจวัดระดับไขมันในเลือดเป็นประจำ จะช่วยให้สามารถจัดการกับความเสี่ยงของไขมันในเลือดสูงได้มากขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป

 

 

การรักษาไขมันในเลือดสูง

การรักษาเริ่มต้นขึ้นเมื่อมีผลวินิจฉัยแน่ชัดแล้วว่าผู้ป่วยมีระดับไขมันในเลือดสูง โดยการรักษาอาจใช้เพียงการดูแลเรื่องอาหารให้ดีขึ้นหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต แต่บางรายอาจต้องใช้การรักษาด้วยยาควบคู่กันไปด้วย เพื่อช่วยให้ระดับไขมันในเลือดค่อย ๆ ลดลงอย่างมีประสิทธิภาพ

 

การรักษาโดยการใช้ยา

การรักษาคอเลสเตอรอลสูงด้วยยาจะใช้ก็ต่อเมื่อผู้ป่วยมีเงื่อนไขสุขภาพ อายุ ปัญหาสุขภาพอื่น ๆ หรือความแข็งแรงของผู้ป่วยในขณะนั้น เนื่องจากยาบางชนิดอาจส่งผลข้างเคียงต่อสุขภาพ โดยยาที่แพทย์ในประเทศไทยมักสั่งจ่ายให้ผู้ป่วยที่มีภาวะคอเลสเตอรอลสูงได้แก่

– ยากลุ่มสเตติน (Statins) ยาในกลุ่มนี้ที่มีใช้ในประเทศไทยได้แก่Simvastatin, Atorvastatin และRosuvastatin เป็นยาที่ใช้ในการควบคุมระดับคอเลสเตอรอล โดยกลไกของยาจะเข้าไปขัดขวางสารบางชนิดที่ตับใช้เพื่อผลิตคอเลสเตอรอล ซึ่งจะช่วยให้ตับกำจัดคอเลสเตอรอลในเลือดได้มากขึ้น

 

– ยากลุ่มไฟเบรต (Fibrate) ได้แก่Fenofibrate และGemfibrozil เป็นยาที่เข้าไปช่วยลดปริมาณการผลิตคอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดีและช่วยเร่งกระบวนการกำจัดไตรกลีเซอไรด์ออกจากร่างกาย

– ยาอีเซทิไมบ์ (Ezetimibe) ยาลดไขมันที่มีคุณสมบัติในการขัดขวางการดูดซึมคอเลสเตอรอลจากอาหารและในน้ำย่อยภายในลำไส้เข้าสู่เลือด เป็นยาที่มีประสิทธิภาพน้อยกว่ายากลุ่มสเตติน และมีผลข้างเคียงน้อยกว่า โดยยาชนิดนี้มักใช้กับผู้ที่ไม่สามารถใช้ยากลุ่มสเตตินได้ หรือผู้ที่ได้รับผลข้างเคียงจนต้องเปลี่ยนยา

– อาหารเสริมกรดไขมันโอเมก้า 3 (Omega-3 Fatty Acid Supplements) กรดไขมันโอเมก้า 3 จัดเป็นไขมันชนิดดีที่อาจช่วยลดระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดได้

 

โดยในการใช้ยาเหล่านี้ แพทย์จะต้องทำการติดตามผลอย่างใกล้ชิด ดังนั้นในระหว่างการรักษา ผู้ป่วยจะต้องไปพบแพทย์ตามนัดและเอาใจใส่เรื่องการเลือกรับประทานอาหารให้มากขึ้นและออกกำลังกายควบคู่กันไปด้วย เพื่อให้ระดับคอเลสเตอรอลลดลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

มาทำความรู้จักกับCoenzyme Q10 หรือ CoQ10  Coenzyme Q10 หรือCoQ10 เป็นสารคล้ายวิตามินที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะมีบทบาทในการเพิ่มพลังงานให้แก่เซลล์ที่ใช้เป็นพลังงานในร่างกาย เป็นสารสำคัญในการสังเคราะห์ATP ซึ่งเปรียบได้กับขุมพลังงานของเซลล์ต่าง ๆ ทั่วร่างกายCoQ10 เป็นตัวต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูง ช่วยปกป้องเซลล์จากการถูกทำลายโดยอนุมูลอิสระ จึงมีส่วนในการช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคต่าง ๆ ได้

 

CoQ10 เป็นสารที่ร่างกายสามารถผลิตได้เองโดยธรรมชาติและมีความจำเป็นต่อร่างกายCoQ10 จะพบในเซลล์ทุกเซลล์ที่มีชีวิตในร่างกายโดยจะอยู่ที่ส่วนเยื่อหุ้มของไมโตคอนเดรีย (Mitochondrial) ที่ทำหน้าที่ในการผลิตพลังงานให้กับเซลล์ต่าง ๆ ในรูปของATP (Adenosine Triphosphate) ซึ่งเป็นพลังงานพื้นฐานของเซลล์ต่าง ๆ นั่นเอง

 

CoQ10 จะถูกพบมากในอวัยวะที่ต้องการพลังงานสูงซึ่งจะมีจำนวนไมโตคอนเดรียเป็นจำนวนมาก เช่น หัวใจ ตับ กล้ามเนื้อ สมอง ส่วนอวัยวะอื่น ๆ ก็พบได้เช่นกันแต่พบค่อนข้างน้อย เนื่องจากอวัยวะนั้น ๆ ต้องการพลังงานน้อยจึงมีจำนวนไมโตคอนเดรียน้อย ทำให้CoQ10 ที่อยู่ในส่วนเยื่อหุ้มของไมโตคอนเดรีย น้อยตามไปด้วยนั่นเอง

 

ทั้งนี้ การที่ระดับของCoQ10 ลดลง จะส่งผลเสียให้ร่างกายไม่สามารถแปลงพลังงานจากอาหารที่เรารับประทานเข้าไป ให้อยู่ในสภาพที่ร่างกายจะนำไปใช้ได้ จึงทำให้เกิดการเจ็บป่วย ร่างกายอ่อนเพลีย และอาจเกิดระบบภูมิคุ้มกันเสื่อมสภาพตามมาได้อีกด้วย

 

ร่างกายได้รับCoQ10 มาจากที่ไหนบ้าง

CoQ10 ตามธรรมชาติของร่างกาย สามารถเกิดขึ้นเองภายในเซลล์ของอวัยวะที่ต้องการพลังงานสูงเช่น หัวใจ ตับ ไต และยังพบที่เซลล์อื่น ๆ อีก เช่น ที่ผิวหนังชั้นหนังกำพร้า และหนังแท้ ซึ่งก็จะพบในจำนวนที่แตกต่างกันออกไปตามจำนวนของไมโตคอนเดรีย (Mitochondrial) เนื่องจากCoQ10 อยู่ที่ส่วนเยื่อหุ้มของไมโตคอนเดรียนั่นเอง

 

 

นอกจากนี้ร่างกายยังสามารถได้รับCoQ10 จากการรับประทานอาหารดังนี้

 

อาหารจำพวกปลาที่ส่วนเนื้อมีไขมันเป็นองค์ประกอบมาก เช่น น้ำมันปลา ปลาทะเลน้ำลึก ปลาทู ปลาซาบะ ปลาซาร์ดีน ปลาแมคเคอเรล ปลาแซลมอน

เนื้อสัตว์ประเภทไก่ ไข่ เนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ ตับ ไต หัวใจ

ถั่ว เมล็ดธัญพืชที่ไม่ขัดขาว

ผลไม้เปลือกแข็งผักเช่น บล็อคโคลี่ ปวยเล้ง

อาหารทะเล ผลิตภัณฑ์จากนม น้ำมันถั่วเหลือง ผัก รำข้าว ซีเรียล

 

CoQ10 มีความสำคัญต่อร่างกายอย่างไร

คุณสมบัติเด่นของCoQ10 คือเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระ สามารถชะลอความเสื่อมโทรมของร่างกายได้ โดยเฉพาะบริเวณผิวหนังที่CoQ10 จะช่วยสร้างพลังงานให้กับผิวเพื่อใช้ในการแบ่งเซลล์ผิวหนังใหม่ๆเพิ่มมากขึ้นทดแทนเซลล์ผิวเก่าที่เสื่อมสภาพไป ทำให้ริ้วรอยต่าง ๆ สามารถลดลงและเลือนหายไปได้

และนอกเหนือจากคุณสมบัติในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และชะลอความเสื่อมโทรมของร่างกายได้แล้วนั้นCoQ10 ยังมีคุณสมบัติในการมีส่วนช่วยให้การทำงานของหัวใจดีขึ้น เสริมระบบภูมิคุ้มกันให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถป้องกันและรักษาโรคเหงือก โรคความดันโลหิตสูง โรคคลอเรสเตอรอลสูง และ ยังมีประโยชน์อีกมากมาย ดังนี้

 

CoQ10 สารต้านอนุมูลอิสระที่พบได้ในทุกเซลล์ของสิ่งมีชีวิต มีความสำคัญอย่างมากต่อการสร้างพลังงานให้แก่เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย ดังนั้นจึงมีคุณสมบัติเกี่ยวกับการลดการเกิดริ้วรอยตามวัย และชะลอการเสื่อมของเซลล์ผิวหนังจากรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) ในแสงแดดได้ โดยCoQ10 เป็นสารต้านออกซิเดชั่น (Antioxidant) จะไปป้องกันไม่ให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นที่จะทำให้อนุมูลอิสระไม่สามารถที่จะทำอันตรายต่อผิวหนังได้ ทั้งนี้CoQ10 พบได้มากที่ผิวหนังชั้นนอก (Epidermis) มากกว่าที่ผิวหนังชั้นใน (Dermis) ซึ่งผิวหนังชั้นนอกเป็นชั้นที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากรังสีUVA การมีCoQ10 บริเวณผิวหนังชั้นนอกจึงเป็นข้อดีอีกประการหนึ่งที่จะช่วยขจัดอนุมูลอิสระซึ่งเป็นสาเหตุของริ้วรอยและความหมองคล้ำได้นั่นเอง นอกจากนี้CoQ10 ยังเปรียบเสมือนแหล่งผลิตพลังงานชั้นดีให้กับเซลล์ผิวหนังอีกด้วย

CoQ10 มีความสำคัญอย่างมากต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เพราะถ้าหากร่างกายขาดCoenzyme Q10 เซลล์ในร่างกายจะหยุดทำงานทันที เพราะไม่สามารถผลิตพลังงานต่าง ๆ ให้แก่เซลล์ได้นั่นเอง

CoQ10 มีคุณสมบัติคล้ายกับวิตามินอี คือ ช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ และช่วยเพิ่มพลังงานที่สำคัญให้แก่ร่างกาย รวมถึงช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันต่าง ๆ ในร่างกายให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

CoQ10 มีส่วนช่วยในโรคเกี่ยวกับเหงือก เนื่องจากเหงือกทำหน้าที่ในการยึดและพยุงฟันให้คงอยู่อย่างสมดุลในช่องปาก และโรคเหงือกที่เป็นปัญหาและพบได้บ่อย ๆ ล้วนเกิดจากคราบจุลินทรีย์ที่ถูกปล่อยให้สะสมอยู่บนตัวฟัน ซึ่งจะไปกระตุ้นให้เกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อต่าง ๆCoQ10 ในร่างกายจะมีคุณสมบัติในการช่วยลดและบรรเทาอาการเหงือกบวม รวมถึงอาการฟันโยก (Periodontitis) ได้ นอกจากนี้ยังสามารถช่วยรักษาโรคเหงือก และชะลอความผิดปกติและการดำเนินของโรคพาร์กินสันได้อีกด้วย

CoQ10 สำคัญมากในผู้สูงอายุ เนื่องจากสภาพร่างกายจะเสื่อมโทรมตามอายุที่เพิ่มมากขึ้นนั่นเอง การรับประทานCoQ10 จะช่วยในการสร้างพลังงานให้แก่เซลล์ และสร้างเซลล์ใหม่ ๆ ทดแทนเซลล์เก่าที่เสื่อมสภาพ ทำให้ร่างกายรู้สึกเหมือนมีพลังขึ้นมาทันที ทั้งนี้ในผู้สูงอายุโรคที่เกิดจากความเสื่อมของเซลล์ในร่างกาย เช่น โรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของระบบประสาท สามารถพบได้มากที่สุด การได้รับCoQ10 เข้าไปในร่างกาย จะสามารถช่วยป้องกันโรคดังกล่าวได้เนื่องจากในCoQ10 มี ฟีนีลอะลานิน (Phenylalanine) ซึ่งช่วยการทำงานของต่อมไทรอยด์ ให้กระตุ้นการเผาผลาญของร่างกาย ทำให้รู้สึกสดชื่นตื่นตัว ลดความซึมเศร้า ช่วยให้ความจำและระบบประสาททำงานได้ดีขึ้น และCoQ10 ยังมีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ จึงสามารถช่วยปกป้องการทำลายของอนุมูลอิสระในสมองได้อีกด้วย

CoQ10 มีความสำคัญมากสำหรับผู้ที่มีปัญหากล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เพราะมีส่วนช่วยในการบรรเทาอาการเจ็บหน้าอกได้ดี ในผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือดสูงเกินไปCoQ10 จะยับยั้งไม่ให้คอเลสเตอรอลจับเป็นก้อนอุดตันเส้นเลือด จึงสามารถใช้ในการรักษาโรคหัวใจได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวเนื่องจากเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอ (Congestive heart failure) ทั้งนี้เนื่องจากCoQ10 ทำให้หัวใจทำงานได้ดียิ่งขึ้น ร่างกายส่วนอื่น ๆ ก็จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพไปด้วย เนื่องจากหัวใจสามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง

เนื่องจากCoQ10 มีคุณสมบัติของการมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และมีคุณสมบัติในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกาย ทำให้CoQ10 มีส่วนในการช่วยป้องกันและรักษาโรคมะเร็งได้ มีงานวิจัยที่พบว่าในผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับระดับคอเลสเตอรอลสูงในกระแสเลือด และผู้ที่ได้รับยากลุ่มStatin ควรจะรับประทานโคเอนไซม์Q10 เพิ่มเติม เนื่องจากยากลุ่มดังกล่าวสามารถส่งผลต่อการยับยั้งการสร้างCoQ10ในร่างกายได้ จึงเป็นสาเหตุให้ระดับCoQ10 มีไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายนั่นเอง

CoQ10 ยังมีส่วนช่วยในการลดการเกิดอนุภาคออกซิไดซ์ของLDL ที่เป็นคอเลสเตอรอลตัวที่ไม่ดีในกระแสเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดอุดตันทำให้หัวใจขาดเลือดได้ และช่วยเพิ่มคอเลสเตอรอลตัวที่ดี คือHDL ในกระแสเลือด ซึ่งมีหน้าที่ในการขับคอเลสเตอรอลที่เกินความต้องการออกจากร่างกาย ดังนั้นยิ่งร่างกายมีHDL สูงจึงยิ่งเกิดผลดีต่อร่ายกายได้อีกด้วย การที่ร่างกายมีCoQ10 อย่างเพียงพอ จึงมีความจำเป็นอย่างมากเพื่อคงความสมดุลและชะลอการเสื่อมสภาพของร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง

ปัจจัยที่ทำให้CoQ10 ในร่างกายลดลง มีดังนี้

 

อายุ : ระดับของCoQ10 ที่ร่างกายสามารถผลิตขึ้นได้เองตามธรรมชาติในเนื้อเยื่อต่าง ๆ จะมีปริมาณมากที่สุดเมื่ออายุประมาณ 20 ปีเท่านั้น และหลังจากนั้นจะค่อย ๆ ลดลงตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น สังเกตได้ง่าย ๆ จากการที่ผิวหนังบริเวณใบหน้ามีริ้วรอยเหี่ยวย่นตามวัยนั่นเอง

โรคบางชนิด : เช่น ภาวะหัวใจล้มเหลวจากเลือดคั่ง อาการปวดเค้นบริเวณหน้าอก กล้ามเนื้อหัวใจตาย ความดันโลหิตสูง โรคพาร์กินสัน และโรคหืด เป็นต้น ที่จำเป็นต้องได้รับประทานยาลดไขมันในกลุ่ม สแตติน (Statin) ซึ่งยากลุ่มนี้อาจเป็นสาเหตุให้ระดับของ CoQ10 ในร่างกายลงได้ เนื่องจากขั้นตอนการออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้างไขมันคอเลสเตอรอล จึงย่อมจะมีผลยับยั้งการสร้างโคเอนไซม์คิวเท็นไปด้วย

ผู้ที่เหมาะสมที่จะต้องเพิ่มCoQ10 ให้แก่ร่างกาย

 

ผู้ที่ร่างกายอยู่ในภาวะอารมณ์เครียดและสับสน อาจเกิดจากการที่ร่างกายมีCoQ10 ไม่เพียงพอ ส่งผลให้ระบประสาทและสมองทำงานได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ร่างกายจึงตอบสนองด้วยความเครียดและสับสนเนื่องจากขาดพลังงานสำคัญที่ช่วยในการคิดวิเคราะห์แก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง

ผู้ที่ทำงานหนัก และต้องการรักษาระดับพลังงานในร่างกายให้อยู่ในระดับปกติ เนื่องจากการทำงานอย่างหนักนั้นร่างกายย่อมต้องใช้พลังงานเป็นจำนวนมาก และเมื่อร่างกายสูญเสียพลังงานออกไปเป็นจำนวนมากยิ่งทำให้ร่างกายอ่อนล้า เหนื่อย เพลีย และอาจนำมาซึ่งการเจ็บป่วยได้ในที่สุด

ผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ เจ็บป่วย หรือภูมิคุ้มกันลดลง การที่ร่างกายเจ็บป่วยย่อมแสดงให้เห็นว่าระบบภูมิคุ้มกันร่างกายเสื่อมถอยลง ดังนั้นการเพิ่มCoQ10 ให้แก่ร่างกายจึงเป็นการเพิ่มพลังงานและสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพ จึงส่งผลให้ร่างกายกลับมาแข็งแรงเป็นปกติได้ในที่สุดนั่นเอง

ผู้ที่มีความเสี่ยงเรื่องโรคหัวใจและความดันโลหิตสูง หากร่างกายมีCoQ10 ไม่เพียงพอ จะส่งผลให้เซลล์ต่าง ๆ ในหัวใจทำงานไม่มีประสิทธิภาพ โดยเซลล์บางส่วนอาจไม่บีบตัวทำงาน ทำให้เซลล์ที่เหลือปรับตัวโดยบีบตัวให้ถี่ขึ้น ทำให้เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ ผู้ที่มีภาวะดังกล่าวจึงรู้สึกใจสั่น หัวใจเต้นแรง วิงเวียนศีรษะ เนื่องจากหัวใจสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ และอาจรู้สึกชาที่ปลายนิ้วมือนิ้วเท้า เพราะขาดเลือด รวมถึงมีอาการอ่อนเพลียและเหนื่อยง่ายมากกว่าปกตินั่นเอง

ผู้ที่กำลังต้องการพลังงานเพื่อต่อสู้กับโรคหรือเชื้อโรค เนื่องจากCoQ10 มีคุณสมบัติของการมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และมีคุณสมบัติในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกาย ทำให้CoQ10 มีส่วนในการช่วยป้องกันและรักษาโรคมะเร็ง รวมถึงโรคอื่น ๆ ได้

ผู้สูงอายุและนักกีฬา เนื่องจากCoQ10 มีคุณสมบัติในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงมีผลทำให้กล้ามเนื้อของนักกีฬาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดอาการล้าของกล้ามเนื้อได้ ในผู้สูงอายุก็มีส่วนช่วยในการลดอาการปวดเมื่อยล้ากล้ามเนื้อได้เช่นเดียวกัน

ปริมาณของCoQ10 ที่เหมาะสมในการแนะนำให้รับประทานเสริม

 

ในการรับประทานCoQ10 เป็นอาหารเสริม ควรบริโภคในปริมาณ 30-50 มิลลิกรัมต่อวันCoQ10 ในรูปของอาหารเสริม เป็นสารอาหารที่ละลายได้ดีในไขมัน

 

จึงควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในรูปของน้ำมันจึงจะสามารถทำให้ร่างกายดูดซึมได้ดีมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ควรเก็บให้พ้นแสง ในอุณภูมิปกติหรือเย็นแต่ห้ามแช่แข็งเนื่องจากอยู่ในรูปของน้ำมันนั่นเอง

 

สำหรับผู้ที่รับประทานยาสแตติน (Statin) เพื่อช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล จะมีส่วนทำให้CoQ10 ในร่างกายลดลงได้อยู่แล้ว ซึ่งจะทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจมากยิ่งขึ้น ดังนั้นจึงควรรับประทานCoQ10ร่วมกับสแตตินด้วย โดยไม่ต้องหยุดการรับประทานยาสเตติน เนื่องจากการรับประทานCoQ10 ยังไม่พบว่ามีผลข้างเคียงใด ๆ ทั้งในรูปแบบการรับประทานเดี่ยว ๆ และการรับประทานร่วมกับยาสแตติน

 

ทั้งนี้การรับประทานCoQ10 อาจจะต้องใช้ระยะเวลานานกว่า 2 เดือนขึ้นไป กว่าจะเห็นผล และขนาดที่แนะนำให้รับประทานต่อวัน สำหรับวัยผู้ใหญ่คือ 30 มิลลิกรัม แต่สำหรับผู้ที่เป็นโรคชรา หรือเป็นโรคอื่น ๆ ควรรับประทาน 50 – 100 มิลลิกรัมต่อวัน

 

ผลข้างเคียงจากการรับประทานCoQ10 คือ หากรับประทานมากเกินไปจะเกิดอาการ คลื่นไส้อาเจียน ผื่นคัน ปวดหัว ท้องเสีย เจ็บหน้าอก เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ มึนงง หงุดหงิด กระสับกระส่าย ตาแพ้แสง อ่อนเพลีย และครั่นเนื้อครั่นตัวได้ ซึ่งนั่นเป็นเพียงอาการข้างเคียงซึ่งเกิดจากการปรับระบบต่าง ๆ ในร่างกายเพื่อให้เข้าสู่ภาวะสมดุลนั่นเอง

 

ข้อห้ามในการรับประทานCoQ10

 

ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลในกระแสเลือดต่ำ เพราะการรับประทานCoQ10 จะมีผลทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดยิ่งลดลงไปอีก เนื่องจากใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะน้ำตาลสูงนั่นเอง

ผู้ป่วยที่เป็นโรคเลือด เพราะCoQ10 จะออกฤทธิ์ไปลดปริมาณเกล็ดเลือดได้ ทำให้เลือดออกได้ง่าย และหยุดยากมากกว่าคนปกติ

ผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตต่ำ เนื่องจากCoQ10 มีส่วนช่วยในการขยายหลอดเลือดจึงมีผลดีต่อการลดความดันโลหิต ซึงถ้าผู้ป่วยมีความดันโลหิตต่ำอยู่แล้วก็จะยิ่งมีผลให้ความดันต่ำลงจนเกิดอันตรายได้

หญิงตั้งครรภ์ และแม่ที่ให้นมลูก เนื่องจากคุณแม่ที่เพิ่งตั้งครรภ์ หรือเพิ่งคลอด มีภูมิคุ้มกันต่ำ จึงไม่ควรที่จะเสี่ยงต่อการนำสารแปลกปลอมที่นอกเหนือจากที่ร่างกายผลิตขึ้นเองได้มาใช้ เพราะอาจส่งผลให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ตามมาได้

ยาที่ควรระมัดระวังการใช้ร่วมกับโคเอนไซม์คิวเทน

 

ยารักษาโรคมะเร็ง เช่น ยาเคโมเทอร์ราปี (Chemotherapy) CoQ10 เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ พบว่าสารต้านอนุมูลอิสระอาจมีผลลดประสิทธิภาพของยาบางชนิดที่ใช้รักษาโรคมะเร็ง

ยาลดความดันโลหิต เช่น ยาCaptopril, ยาEnalapril , ยาLosartan, ยาValsartan, ยาDiltiazem, ยาAmlodipine, ยาHydrochlorothiazide และยาFurosemide(Lasix®) เนื่องจากCoQ10 มีผลลดความดันโลหิต ดังนั้น การใช้โคเอนไซม์คิวเทนร่วมกับยาลดความดันโลหิต ควรระมัดระวังการเกิดความดันโลหิตต่ำเกินไปจนอาจเป็นลมได้

ยาวาร์ฟาริน (Warfarin: Coumadin®) ยานี้ใช้เพื่อชะลอการแข็งตัวของเลือด โดยCoQ10 ออกฤทธิ์ช่วยให้เลือดแข็งตัว ดังนั้นการใช้CoQ10 อาจลดประสิทธิภาพของยาได้ ดังนั้น หากมีปัญหาการแข็งตัวของเลือดผิดปกติอยู่แล้ว ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้CoQ10 นั่นเอง

**อ้างอิงข้อมูลยาที่ควรระมัดระวังการใช้ร่วมกับโคเอนไซม์คิวเทน :https://www.honestdocs.co/coenzyme-q10

CoQ10 เป็นสารสำคัญที่ร่างกายสังเคราะห์ขึ้นเองได้จากกระบวนการสังเคราะห์ไขมันคอเลสเตอรอลที่ตับ และมีคุณสมบัติละลายได้ในไขมัน มีส่วนสำคัญในกระบวนการสร้างพลังงานระดับเซลล์ของร่างกาย ช่วยปกป้องเยื่อหุ้มเซลล์ และเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูง ช่วยชะลอการเสื่อมสภาพของเซลล์อีกด้วย

 

แต่สภาวะของร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป คืออายุที่เพิ่มขึ้น และโรคบางชนิด เช่น โรคหัวใจ โรคไขมันในเลือดสูง เป็นต้น ที่จำเป็นต้องได้รับประทานยาลดไขมันในกลุ่ม สแตติน (Statin) ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้ระดับของCoQ10  ในร่างกายลดลงได้ เนื่องจากขั้นตอนการออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้างไขมันคอเลสเตอรอล ย่อมจะมีผลยับยั้งการสร้างโคเอนไซม์คิวเท็นไปด้วยนั่นเอง

 

ในผู้สูงอายุ และ ผู้ที่ใช้ยากลุ่มStatin  ต่อเนื่องเป็นเวลานาน อาจทำให้มีภาวะปวดกล้ามเนื้อ แขน ขา อ่อนแรง ทั้งจากการที่ร่างกายสร้างCoQ10 ได้น้อยลงตามอายุที่สูงขึ้น และจากการที่ยากลุ่มStatin ออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้างไขมันคอเลสเตอรอลทำให้การสังเคราะห์CoQ10 ลดน้อยลงไปด้วย ดังนั้นบางกรณีแพทย์จึงมีการพิจารณาแนะนำผู้ป่วยโรคหัวใจและไขมันในเลือดดังกล่าวให้รับประทานCoQ10 เสริม เพื่อลดการเกิดผลกระทบดังกล่าวนั่นเอง

 

CoQ10 ยังมีส่วนช่วยในการลดการเกิดอนุภาคออกซิไดซ์ของLDL ที่เป็นคอเลสเตอรอลตัวที่ไม่ดีในกระแสเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดอุดตันทำให้หัวใจขาดเลือดได้ และช่วยเพิ่มคอเลสเตอรอลตัวที่ดี คือHDL ในกระแสเลือด ซึ่งมีหน้าที่ในการขับคอเลสเตอรอลที่เกินความต้องการออกจากร่างกาย ดังนั้นยิ่งร่างกายมีHDL สูงจึงยิ่งเกิดผลดีต่อร่ายกายได้อีกด้วย การที่ร่างกายมีCoQ10 อย่างเพียงพอ จึงมีความจำเป็นอย่างมากเพื่อคงความสมดุลและชะลอการเสื่อมสภาพของร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง

 

**อ้างอิงข้อมูลยาที่ควรระมัดระวังการใช้ร่วมกับโคเอนไซม์คิวเทน :https://www.honestdocs.co/coenzyme-q10

Coenzyme Q10หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่าCoQ10เป็นสารสำคัญที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์ขึ้นเองได้ตามธรรมชาติจากกระบวนการสังเคราะห์ไขมันคอเลสเตอรอลที่ตับ และได้รับอีกเล็กน้อยจากอาหาร เช่น ปลาซาร์ดีน ปลาแมคเคอเรล เนื้อสัตว์ ถั่วเปลือกแข็ง น้ำมัน เป็นต้น ซึ่งในอวัยวะที่ต้องการพลังงานสูงเช่น หัวใจ ตับ ตับอ่อน ไตและระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น จำเป็นต้องมีCoQ10อยู่เป็นจำนวนมากและเพียงพอ เพื่อรักษาสมดุลในร่างกายให้เซลล์ต่าง ๆ สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

แต่ทั้งนี้สภาวะของร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป เช่นอายุที่เพิ่มขึ้น และโรคบางชนิด เช่น ภาวะหัวใจล้มเหลวจากเลือดคั่ง อาการปวดเค้นหน้าอก กล้ามเนื้อหัวใจตาย ความดันโลหิตสูง โรคพาร์กินสัน และโรคหืด ล้วนมีผลทำให้ระดับCoQ10ในร่างกายลดลง ดังนั้นบางกรณีแพทย์จึงมีการพิจารณาแนะนำให้ผู้ป่วยบางรายรับประทานCoQ10เสริมให้เพียงพอ เพื่อช่วยให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายสามารถทำงานได้อย่างสมดุลตามปกติ

 

โดยCoQ10นอกจากจะมีบทบาทสำคัญในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันการเสื่อมสภาพของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายโดยเฉพาะเซลล์ที่กล้ามเนื้อหัวใจ รวมถึงปกป้องการทำลายDNA แล้วCoQ10ยังมีส่วนช่วยให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานได้ดีขึ้น อาการของโรคหัวใจดีขึ้น และทำให้ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงมีความดันลดลงเนื่องจากมีส่วนช่วยในการขยายหลอดเลือดอีกด้วย

 

ในกรณีกล้ามเนื้อหัวใจ หากร่างกายมีCoQ10 ไม่เพียงพอ จะส่งผลให้เซลล์ต่าง ๆ ในหัวใจทำงานไม่มีประสิทธิภาพ โดยเซลล์บางส่วนอาจไม่บีบตัวทำงาน ทำให้เซลล์ที่เหลือปรับตัวโดยบีบตัวให้ถี่ขึ้น ทำให้เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ ผู้ที่มีภาวะดังกล่าวจึงรู้สึกใจสั่น หัวใจเต้นแรง วิงเวียนศีรษะ เนื่องจากหัวใจสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ และอาจรู้สึกชาที่ปลายนิ้วมือนิ้วเท้า เพราะขาดเลือด รวมถึงมีอาการอ่อนเพลียและเหนื่อยง่ายมากกว่าปกตินั่นเอง

กล้ามเนื้ออ่อนแรง กล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์นั้นสำคัญแค่ไหน? ไปติดตามพร้อมกันเลยค่ะ กล้ามเนื้อ (Muscle) เป็นเนื้อเยื่อที่หดตัวได้ในร่างกาย เปลี่ยนแปลงมาจาก เมโซเดิร์ม (Mesoderm) ของชั้นเนื้อเยื่อในตัวอ่อน และเป็นระบบหนึ่งของร่างกายที่สำคัญต่อการเคลื่อนไหวทั้งหมดของร่างกาย

 

กล้ามเนื้ออ่อนแรง คืออะไร?

กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Myasthenia Gravis: MG) หรือโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอ็มจี คือโรคที่มีสาเหตุมาจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานผิดปกติ ผู้ป่วยจะมีอาการหนังตาตก ยิ้มได้น้อยลง หายใจลำบาก มีปัญหาการพูด การเคี้ยว การกลืน รวมไปถึงการเคลื่อนไหวของร่างกาย โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยทุกเพศทุกวัย ปัจจุบัน การรักษาทำได้เพียงบรรเทาอาการ ผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างถูกต้องและเอาใจใส่จากคนรอบข้างอย่างสม่ำเสมอ

 

 

 

อาการของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

ปกติแล้วมักไม่พบอาการเจ็บหรือปวด แต่ผู้ป่วยอาจรู้สึกเจ็บหรือปวดหลังมีประจำเดือนหรือหลังออกกำลังกาย อาการที่สังเกตได้ตามบริเวณส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น ตา ใบหน้า ลำคอ แขนและขา โดยอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้น มีรายละเอียดดังนี้

 

1. กล้ามเนื้อรอบดวงตา หนังตาตกข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้าง เป็นอาการแรกที่สังเกตได้ รวมถึงพบปัญหาด้านการมองเห็น เช่น มองไม่ชัด หรือเห็นภาพซ้อน เป็นต้น อาการจะดีขึ้นเมื่อหลับตาข้างใดข้างหนึ่งลง

 

2. ใบหน้า หากกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการแสดงออกบนใบหน้าได้รับผลกระทบ จะทำให้การแสดงออกทางสีหน้าถูกจำกัด เช่น ยิ้มได้น้อยลง หรือกลายเป็นยิ้มแยกเขี้ยวเนื่องจากไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อบนใบหน้าได้

 

3. การหายใจ ผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรงจำนวนหนึ่งมีอาการหายใจลำบาก โดยเฉพาะเมื่อนอนราบอยู่บนเตียงหรือหลังออกกำลังกาย

 

4. การพูด การเคี้ยวและการกลืน เกิดจากกล้ามเนื้อรอบปาก เพดานอ่อน หรือลิ้นอ่อนแรง ส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติบางอย่าง เช่น พูดเสียงเบาแหบ พูดเสียงขึ้นจมูก เคี้ยวไม่ได้ กลืนลำบาก ไอ

 

5. ลำคอ แขนและขา อาจเกิดขึ้นร่วมกับอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อส่วนอื่นๆ มักเกิดขึ้นที่แขนมากกว่าที่ขา ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของร่างกาย เช่น เดินเตาะแตะ เดินตัวตรงได้ยาก

 

 

การป้องกันโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

  • หลีกเลี่ยงโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
  • ป้องกันการติดเชื้อต่างๆ ด้วยการมีสุขอนามัยที่ดี และหลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วย
  • หากเกิดการติดเชื้อหรือป่วย ควรรีบรักษาด้วยวิธีที่ถูกต้องทันที
  • หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่หนักเกินไป
  • ไม่ควรทำให้ตัวเองรู้สึกร้อนหรือหนาวมากจนเกินไป
  • ควบคุมความเครียด เป็นต้น

 

ปัจจุบัน การรักษาโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงมีหลากหลายวิธี ส่วนใหญ่แพทย์จะรักษาตามอาการและเน้นเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรง และเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับเงื่อนไขของผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรงแต่ละบุคคล เช่น อายุ ความรุนแรงของอาการ ตำแหน่งที่เกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นต้น

 

 

ขอขอบคุณ

ข้อมูลอ้างอิงจากhttps://www.pobpad.com

หลายคนน่าจะเคยมีอาการปวดคอ ปวดหลัง แล้วลามมาจนถึงหัวไหล่ กันมาบ้าหลายคนน่าจะเคยมีอาการปวดคอ ปวดหลัง แล้วลามมาจนถึงหัวไหล่ กันมาบ้างใช่ไหมคะ? หลายคนอาจคิดว่าเป็นอาการปกติ ไม่ได้ใส่ใจอะไรแต่จริง ๆ แล้ว อาการปวดที่กำลังคุกคามชีวิตประจำวันของเราอยู่นี้ อาจไม่ใช่อาการปกติก็ได้ เพราะเสี่ยงเป็น “โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท”

 

ดังนั้น ทุกท่านอย่าได้นิ่งนอนใจ เช็กตัวเองด่วนค่ะ และควรไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะดีกว่านะคะงใช่ไหมคะ? หลายคนอาจคิดว่าเป็นอาการปกติ ไม่ได้ใส่ใจอะไรแต่จริง ๆ แล้ว อาการปวดที่กำลังคุกคามชีวิตประจำวันของเราอยู่นี้ อาจไม่ใช่อาการปกติก็ได้ เพราะเสี่ยงเป็น “โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท” ได้ ดังนั้น ทุกท่านอย่าได้นิ่งนอนใจ เช็กตัวเองด่วนค่ะ และควรไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะดีกว่านะคะ

 

โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท คืออะไร?

โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เป็นโรคที่เกิดจากหมอนรองกระดูกที่อยู่บริเวณกระดูกสันหลังถูกทำลาย ได้รับบาดเจ็บ หรือเสื่อมสภาพ ทำให้หมอนรองกระดูกแตกและมีกระดูกอ่อนส่วนที่อยู่ภายในหมอนรองกระดูกโผล่ออกมา จนกดทับเส้นประสาทซึ่งอยู่ด้านหลังหมอนรองกระดูก จึงทำให้มีอาการปวดเฉพาะที่ เช่น อาการปวดหลังไม่หาย ปวดบริเวณเอวด้านล่างถึงสะโพกหรือต้นขาด้านหลัง ผู้ป่วยจะมีอาการปวดขา รู้สึกชา อ่อนแรง หรือเจ็บบริเวณแนวเส้นประสาทที่ถูกกดทับ ยิ่งกดทับมากเท่าไร อาการปวดจะเพิ่มมากขึ้น อาจลุกลามจนปวดตลอดเวลาได้

 

 

พฤติกรรม “เสี่ยง” หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท  พฤติกรรมเสี่ยงที่นำไปสู่อาการที่ว่า มีดังนี้

  • เป็นผู้ที่มีภาวะอ้วนลงพุง และมีน้ำหนักตัวมากจนเกินไป น้ำหนักที่มากจะทำให้หลังต้องรับน้ำหนักมากเช่นกัน หลังแอ่น และกระดูกสันหลังช่วงล่างต้องรับน้ำหนักที่มากตลอดเวลา ทำให้หมอนรองกระดูกมีโอกาสเสื่อม แตก ปลิ้นได้ง่าย
  • การยกของหนัก เพราะต้องใช้กล้ามเนื้อหลังแทนกล้ามเนื้อขาและต้นขา เป็นสาเหตุให้กระดูกบิดหรือเคลื่อนได้ หรือเกิดอุบัติเหตุที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อกระดูก
  • ขาดการออกกำลังกาย ทำให้กล้ามเนื้อลีบ ฝ่อ ไม่แข็งแรง
  • การใช้ร่างกายผิดท่าเป็นประจำ เช่น การนั่งท่าเดิมนานๆ การนั่งไม่ถูกท่า การก้มยกของโดยไม่ระมัดระวัง การสะพายกระเป๋าหนักๆ ด้วยไหล่ข้างเดียว การนอนคว่ำอ่านหนังสือ เป็นต้น ดังนั้น ก่อนใช้ร่างกายควรจัดระเบียบท่าทางร่างกายให้เหมาะสมกับกิจกรร
  • การสูบบุหรี่จัด มีผลทำให้ออกซิเจนไปเลี้ยงหมอนรองกระดูกหรือกระดูกสันหลังได้ไม่ดีเท่าที่ควร กระดูกสันหลังจึงสูญเสียความยืดหยุ่นและเสื่อมสภาพ เป็นต้น

 

โดยส่วนใหญ่แล้วล้วนมาจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวันของตัวเราเองทั้งสิ้น จนทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยก่อนวัยอันควร พบได้บ่อยในกลุ่มคนวัยทำงานและกลุ่มผู้สูงอายุ เนื่องจากความเสื่อมสภาพของร่างกายไปตามเวลา นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมได้อีกด้วย

ขอขอบคุณ

ข้อมูลอ้างอิงจาก โรงพยาบาลพญาไท

โรคกระดูกพรุน ภัยอันตรายสำหรับวัยทอง ซึ่งโรคนี้ถือเป็นภัยเงียบที่น่ากลัว นั่นก็เพราะว่า โรคกระดูกพรุนมักเป็นภัยเงียบที่เกิดการสะสมในร่างกายมานาน โดยที่ผู้ป่วยไม่ทราบ เพราะไม่มีอาการแต่อย่างใด จนกว่าจะเกิดอุบัติเหตุกระดูกหัก จึงทำให้คนจำนวนมากไม่ทราบว่า สภาวะกระดูกของตนเองนั้นบางไปมากน้อยเพียงใดแล้ว และไม่ได้สนใจที่จะดูแล ป้องกันอย่างจริงจัง

 

เมื่อเวลาผ่านไป อายุเริ่มมากขึ้น ความแข็งแรงของกระดูกย่อมเสื่อมถอยลง การดูแลใส่ใจควรมีมากขึ้น แต่คนส่วนใหญ่จะไม่ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ กว่าจะรู้ก็เมื่อกระดูกพรุนและเกิดการสึกหรอเกินกว่าจะดูแล โดยเฉพาะสตรีวัยหมดระดูจะเป็นช่วงที่มีการสูญเสียมวลกระดูกอย่างรวดเร็ว ซึ่งในวัยหมดระดูจะมีการลดลงของฮอร์โมนเพศหญิงที่มีชื่อว่า “เอสโตรเจน”

 

 

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะกระดูกพรุน (Osteoporosis)     

แม้โรคกระดูกพรุนเป็นโรคที่พบได้กับทุกเพศ ทุกวัย และพบมากขึ้นเมื่อมีอายุมาก ถ้าหากเรารู้ถึงปัจจัยเสี่ยงของโรคกระดูกพรุน จะช่วยให้สามารถหลีกเลี่ยงหรือแก้ไขได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและช่วยป้องกันการเกิดหรือลดความรุนแรงของโรคกระดูกพรุนได้

 

ปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้

เพศหญิงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป

มีรูปร่างผอมบาง

เคยผ่าตัดรังไข่ทั้งสองข้างก่อนอายุ 45 ปี เนื่องจากขาดฮอร์โมนเพศ จึงเริ่มสูญเสียมวลกระดูกอย่างรวดเร็ว

 

ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถปรับเปลี่ยนได้

  • การบริโภคแคลเซียมไม่เพียงพอ
  • สูบบุหรี่ สารพิษนิโคตินเป็นตัวทำลายเซลล์สร้างมวลกระดูก ทำให้กระดูกบางลง
  • ดื่มกาแฟ ชา แอลกอฮอล์มากกว่า 3 แก้วต่อวัน หรือน้ำอัดลมมากกว่า 4 กระป๋องต่อสัปดาห์
  • ได้รับยากลุ่มสเตียรอยด์นานเกิน 3 เดือน
  • มีภาวะเสี่ยงต่อการหกล้ม
  • ขาดการออกกำลังกาย

การวินิจฉัยภาวะกระดูกพรุน ใช้ผลการตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูกด้วย วิธีDual Energy X-Ray Absorptiometry (DEXA)

 

 

 การรักษาภาวะกระดูกพรุน แบ่งเป็น 2 วิธี คือ

1. การรักษาโดยไม่ใช้ยา โดยลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่กล่าวไปแล้ว และเน้นภาวะโภชนาการที่มีแคลเซียม และวิตามินดีที่เพียงพอต่อร่างกาย การออกกำลังกาย นอกจากจะช่วยสร้างกระดูกแล้ว ยังเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ข้อต่อ ตลอดจนช่วยเรื่องการทรงตัวด้วย

2. การรักษาโดยใช้ยา มีหลากหลายชนิด ขึ้นอยู่กับแพทย์ที่ดูแล และพิจารณาถึงประสิทธิภาพ ผลข้างเคียง และความสะดวกในการใช้ยาของผู้ป่วย

 

 

 วิธีป้องกันโรคกระดูกพรุน

1)  รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะแคลเซียมและวิตามินดี ซึ่งเป็นแร่ธาตุสำคัญในการเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง

2)  ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

3)  งดสูบบุหรี่

4)  หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์รวมถึงสารคาเฟอีน เนื่องจากมีผลทำลายกระดูก

5)  ตรวจร่างกายเป็นประจำ โดยเฉพาะเมื่อมีอายุ 50 ปีขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจวัดกระดูกเพื่อป้องกันการเสื่อมแต่เนิ่นๆ

 

ดังนั้น การป้องกัน คือ ทางเลือกที่ดีที่สุด ทุกท่านควรตระหนักว่า ภาวะกระดูกพรุนเป็นภัยเงียบ เราควรดูแลสุขภาพของกระดูกตั้งแต่เด็กหรือก่อนวัยหมดระดู หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงและควรได้รับการตรวจคัดกรองกระดูกพรุนในกลุ่มเสี่ยง ได้รับการดูแล รักษา ป้องกันกระดูกอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

 

 

 

ขอขอบคุณ

ข้อมูลอ้างอิงจากhttps://www.bangpakokhospital.com/

สมองเป็นอวัยวะหนึ่งในร่างกายของคนเราที่มีความสำคัญมาก เปรียบเหมือนกองบัญชาการควบคุมระบบต่างๆ ในร่างกายมากมายหลายระบบ ทั้งระบบความคิด ความจำ อารมณ์ พฤติกรรม และรักษาความสมดุลของระบบภายในร่างกาย เช่น ความดันโลหิต การเต้นของหัวใจ ตลอดจนการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย

 

สมองของคนเรามีการพัฒนาตั้งแต่ยังอยู่ในครรภ์มารดา งานวิจัยทางการแพทย์ระบุว่า เซลล์ของระบบประสาทสมองจะเพิ่มขึ้นถึง 200,000 – 300,000 เซลล์ในทุกๆ นาที จนถึงเวลาที่เด็กคลอดออกมาจากครรภ์มารดา เด็กก็จะมีเซลล์สมองเกือบจะสมบูรณ์เหมือนกับวัยผู้ใหญ่เลยทีเดียว ซึ่งได้ประมาณไว้ว่า เมื่อเด็กอายุได้ 2 – 3 ขวบ สมองของเขาจะมีขนาดประมาณ 80% ของผู้ใหญ่ แต่เป็นธรรมดาที่เมื่อสมองมีการเจริญเติบโตแล้วก็ต้องมีเวลาที่สมองนั้นจะเข้าสู่ภาวะที่เสื่อมถอย

 

 

5 วิธีดูแลสมองก่อนความจำเสื่อม

1. อาหารบำรุงสมอง

ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการแพทย์ทางเลือกหลายคนแนะนำว่า ให้รับประทานอาหารบำรุงสมอง เช่น ผัก ผลไม้ น้ำมันปลา เนื้อปลา และควรดื่มน้ำอย่างน้อย วันละ 3 – 5 ลิตร นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงเหล้า บุหรี่และสารเสพติดต่างๆ เพราะสิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นตัวการสำคัญในการทำลายสมองให้เสื่อมเร็วมากขึ้น

 

 

2. ออกกำลังกายช่วยให้สมองแข็งแรง

การออกกำลังกายนอกจากจะทำให้กล้ามเนื้อของร่างกายแข็งแรงแล้ว ยังเปรียบเหมือนยาขนานเอกในการบำรุงสมองอีกด้วย นอกจากนี้มีการทดลองกับผู้สูงอายุวัย 60 – 70 ปี โดยการสแกนสมองพบว่า การออกกำลังกาย เช่น เดินเร็ว หรือแอโรบิก สามารถเสริมสร้างสมองส่วนหน้า (Frontal Lobe) ให้มีปริมาตรมากขึ้น จึงทำให้การทำงานของสมองดีขึ้น ส่งผลดีในเรื่องเกี่ยวกับการตัดสินใจ การบริหารจัดการ การวางแผน การทำงานหลายอย่างในเวลาเดียวกัน

 

 

3. พักผ่อน ช่วยให้สมองผ่อนคลาย

เวลาที่เราเกิดความเครียดจะทำให้เกิดฮอร์โมนชนิดหนึ่งคือ ฮอร์โมนคอร์ติซอล ซึ่งจะส่งผลร้ายต่อร่างกายโดยเฉพาะสมอง มีผลทำให้ระบบความคิดของสมองตีบตัน และความจำเสื่อมได้ ดังนั้น สิ่งที่จำเป็นมากที่สุดคือ เราต้องหาเวลาส่วนตัวในการพักผ่อน เพื่อให้สมองได้รับการผ่อนคลาย เช่น การนอนอยู่กับบ้าน การเดินทางท่องเที่ยว การฟังเพลง หรือ ดูหนัง

 

 

4. ให้สมองเปิดรับสิ่งใหม่ๆ

การทำสิ่งที่จำเจซ้ำซากอยู่ทุกวัน มีผลทำให้สมองฝ่อเร็ว แต่การเปิดโอกาสให้สมองได้เรียนรู้สิ่งใหม่ จะเป็นการช่วยฝึกให้สมองได้ออกกำลัง เช่น การเปลี่ยนเส้นทางการขับรถใหม่ การอ่านหนังสือเล่มใหม่ เพราะการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ สมองจะหลั่งสารโดปามีน และสารเอ็นดอร์ฟิน ซึ่งทำให้สมองเกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุข ทำให้สมองแข็งแรง และเสื่อมช้าลง

 

 

5. เซ็กส์ สร้างความสดชื่นให้สมอง

มีงานวิจัยที่ยืนยันว่า เซ็กส์ ในผู้สูงอายุ ช่วยกระตุ้นให้สมองเสื่อมช้าลง การมีเซ็กส์ที่ดีกับคู่รักหรือคู่สมรสนับเป็นกิจกรรมที่เป็นการออกกำลังสมองได้ดีมาก เพราะเป็นกิจกรรมที่สร้างสุข ท้าทาย ตื่นเต้น ใช้จินตนาการ และมีการเคลื่อนไหวของร่างกายในทุกส่วน

 

ก็จบกันไปแล้วนะคะ เป็นอย่างไรกันบ้างคะ จากที่กล่าวมาข้างต้น ดิฉันเชื่อว่า เป็นวิธีง่ายๆ ที่เราสามารถป้องกันเบื้องต้นได้ รับรองว่า จะช่วยยืดอายุของเราไปอีกนานเลยค่ะ

บทความนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่องอัลไซเมอร์กับภาวะสมองเสื่อมไปพร้อมๆ กัน ว่าแต่คงสงสัยกันใช่ไหมคะว่า สองโรคนี้ เกี่ยวข้อง และเชื่อมโยงกันยังไง นับวันเราก็ยิ่งเจอผู้ป่วย อัลไซเมอร์กับภาวะสมองเสื่อม มากขึ้น

อัลไซเมอร์ (Alzheimer) เป็นหนึ่งในโรคที่เกิดจากความเสื่อมถอยของการทำงานหรือโครงสร้างของเนื้อเยื่อของสมองซึ่งมักพบในผู้สูงอายุ โดยไม่ใช่ความเสื่อมตามธรรมชาติ เพราะผู้สูงอายุไม่จำเป็นต้องเป็นอัลไซเมอร์ทุกคน แต่เป็นความเสื่อมที่เกิดจากโปรตีนชนิดหนึ่งที่เรียกว่า เบต้า-อะไมลอยด์ (Beta-Amyloid) ชนิดไม่ละลายน้ำ ซึ่งเมื่อไปจับกับเซลล์สมองจะส่งผลให้เซลล์สมองเสื่อมและฝ่อลง รวมถึงทำให้การสื่อสารระหว่างเซลล์สมองเสียหายจากการลดลงของสารอะซีติลโคลีน (Acetylcholine) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ส่งผลโดยตรงกับความทรงจำ

 

การสะสมของเบต้า-อะไมลอยด์ ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของสมองค่อยๆ ลดลง เริ่มจากสมองส่วนฮิปโปแคมปัส (Hippocampus) ที่มีบทบาทสำคัญในการจดจำข้อมูลใหม่ๆ เมื่อเซลล์สมองส่วนนี้ถูกทำลาย ผู้ป่วยจะเริ่มมีปัญหาเรื่องความจำโดยเฉพาะความจำระยะสั้น จากนั้นความเสียหายที่เกิดขึ้นจะแพร่กระจายไปสู่สมองส่วนอื่นๆ และส่งผลต่อการเรียนรู้ ความรู้สึกนึกคิด ภาษา และพฤติกรรม

 

 

โรคอัลไซเมอร์ กับ ภาวะสมองเสื่อม

โรคอัลไซเมอร์กับภาวะสมองเสื่อม (Dementia Syndrome) นั้นมีความแตกต่างกัน ซึ่งการเข้าใจความแตกต่างจะช่วยให้ผู้ป่วยและญาติเข้าใจการวินิจฉัยของแพทย์ได้ดีขึ้น ทั้งนี้ ภาวะสมองเสื่อม หมายถึง กลุ่มอาการผิดปกติที่เป็นผลมาจากการเสื่อมของสมองหลายส่วน ซึ่งพบได้ในผู้สูงอายุ โดยแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทตามสาเหตุ ได้แก่

 

1. ภาวะสมองเสื่อมที่รักษาให้หายขาดได้ พบประมาณร้อยละ 20 ของผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมทั้งหมด โดยสาเหตุมักเกิดจากโรคทางกาย เช่น หลอดเลือดสมองตีบตัน เลือดออกในสมอง เนื้องอกในสมองบางชนิด การขาดวิตามินบี 12 และโรคขาดไทรอยด์ฮอร์โมน

 

2. ภาวะสมองเสื่อมที่รักษาไม่หายขาด พบมากถึงร้อยละ 80 ของผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม และมีโรคอัลไซเมอร์เป็นสาเหตุถึงร้อยละ 50 ส่วนที่เหลือเป็นโรคที่ทำให้สมองเสื่อมคล้ายอัลไซเมอร์อีก 5 – 6  โรค

 

“ดังนั้น อัลไซเมอร์จึงเป็นสาเหตุของภาวะสมองเสื่อมที่พบได้บ่อยที่สุด”

 

 

กิจกรรมนันทนาการ ลดความเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์

 

หมั่นเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ เช่น อ่านหนังสือใหม่ๆ ทำอาหารเมนูใหม่ๆ ออกไปท่องเที่ยวสถานที่ใหม่ๆ พูดคุยกับคนใหม่ๆ เป็นต้น

มีกิจกรรมทางสังคมอยู่เรื่อยๆ เช่น นัดเจอเพื่อน กินข้าวกับครอบครัว

ลดความเครียดด้วยการหากิจกรรมผ่อนคลายสมอง เช่น ดูหนัง ฟังเพลง คุยกับคนอื่น เป็นต้น

ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น เดินเร็ว แอโรบิกเบาๆ หรือโยคะ เป็นต้น

 

โดยสรุปแล้ว อายุ ถือว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มโอกาสการเกิดโรคอัลไซเมอร์ ยิ่งอายุมากขึ้นก็ยิ่งมีโอกาสเกิดโรคมากขึ้น เพราะ สถิติในปัจจุบันพบว่ากลุ่มที่มีอายุราว 65 ปี พบผู้ป่วยอัลไซเมอร์ประมาณร้อยละ 5  กลุ่มผู้ที่มีอายุราว 75 ปี พบผู้ป่วยอัลไซเมอร์ประมาณร้อยละ 15 และกลุ่มผู้ที่มีอายุ 85 ปีขึ้นไป พบผู้ป่วยอัลไซเมอร์มากถึงร้อยละ 40 ฉะนั้น จำนวนผู้ป่วยอัลไซเมอร์จึงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากคนเรามีอายุที่ยืนยาวขึ้นนั่นเองค่ะ

 

 

 

ขอขอบคุณ

ข้อมูลอ้างอิงจากhttps://www.bumrungrad.com/

สวัสดีค่ะ วันนี้ดิฉันจะพาไปทำความรู้จักกับ โรคนอนไม่หลับ (Insomnia) เชื่อว่า หลายคนคงจะเคยได้ยินโรคนี้กันมาบ้างแล้ว ซึ่งเป็นโรคใกล้ตัวเรามากๆ รู้หรือไม่ว่า การนอนหลับ ถือเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมของสมอง คุณจะรู้ว่าการนอนไม่หลับจะมีผลกระทบกับคุณในช่วงกลางวัน และกลางคืน ทำให้คุณรู้สึกอ่อนเพลียในระหว่างวัน และเป็นสาเหตุให้มีปัญหาในการทำงาน

 

ในแต่ละคืนนั้นผู้ใหญ่ต้องได้นอนหลับเป็นเวลา 7 – 8 ชั่วโมง ส่วนเด็กก็ต้องการนอนมากถึง 10 ชั่วโมง เราเริ่มรู้สึกง่วงนอนเมื่อร่างกายส่งสัญญาณให้รู้ว่าถึงเวลาหลับ โดยจะทำงานสัมพันธ์กับสัญญาณจากภายนอกเช่นความมืด เคมีที่เกี่ยวข้องกับการหลับในร่างกายเริ่มหลั่งออกมา เช่นAdenosine และMelatonin ทำให้หายใจช้าลง ชีพจรเต้นช้าลง กล้ามเนื้อผ่อนคลาย พร้อมที่จะส่งเราเข้านอน

 

กระบวนการกำจัดของเสียในสมองจะไม่ได้ทำงานอยู่ตลอดเวลา แต่จะทำงานก็ต่อเมื่อร่างกายหลับเท่านั้น โดยสมองจะเริ่มหดตัวลงเพื่อทำให้เกิดช่องว่างระหว่างเซลล์มากขึ้น ทำให้ของเหลวไหลผ่านได้ดีและล้างของเสียออกไปจากสมองได้เร็ว

 

นอนไม่หลับ เกิดจากอะไร?

อาการนอนไม่หลับ อาจเกิดจากปัจจัยทางด้านร่างกายและจิตใจ หรือโรคประจำตัวที่เป็นเหตุให้นอนไม่หลับเรื้อรัง โดยอาการนอนไม่หลับชั่วคราว อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น

 

นาฬิกาชีวภาพของร่างกายถูกรบกวน เช่น อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายยังปรับจังหวะเวลาให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ที่มีเวลา (Time Zones) แตกต่างกันไม่ได้ เนื่องจากร่างกายยังเคยชินกับเวลาในสภาพแวดล้อมเดิมอยู่ (Jet Lag) หรือการทำงานที่ต้องเปลี่ยนเวลาการนอนอยู่เสมอ

การใช้ยาบางชนิด เช่นPseudoephedrine, Terbutaline, Phentermin

การดื่มเครื่องดื่มบางชนิด เช่น ชา กาแฟ หรือแอลกอฮอล์  แม้ว่าแอลกอฮอล์จะทำให้รู้สึกง่วง แต่กลับรบกวนการหลับลึกและทำให้ตื่นกลางดึกได้ เป็นต้น

 

 

นอนไม่หลับ ทำอย่างไรดี?

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน เป็นการป้องกันปัญหาการนอนไม่หลับที่สามารถทำได้ง่ายและส่งผลดีต่อร่างกาย ทั้งยังสามารถป้องกันปัญหาสุขภาพอื่นๆ ที่อาจเกิดตามมาได้อีกด้วย เช่น

 

  • ปรับพฤติกรรมการนอน โดยเข้านอนให้เป็นเวลา ไม่งีบหลับในระหว่างวัน หรือนอนเมื่อง่วงนอน
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนักช่วงก่อนนอน
  • ตรวจสอบยาที่รับประทานอยู่ว่ามียาชนิดใดที่อาจเป็นเหตุให้นอนไม่หลับหรือไม่
  • จัดห้องให้มีบรรยากาศเอื้อต่อการนอน เช่น เงียบ มืด มีอุณหภูมิที่เหมาะสม
  • เลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ กาแฟ ในช่วงเย็นหรือก่อนเข้านอน
  • ลด ละ เลิกการสูบบุหรี่ เนื่องจากนิโคตินในบุหรี่สามารถส่งผลให้นอนหลับได้ยากขึ้น เป็นต้น

 

จากที่กล่าวไปข้างต้น อาการที่มักจะนำผู้ป่วยมาพบแพทย์ ได้แก่ การเข้านอนแล้วหลับยาก การตื่นตอนกลางคืนบ่อยๆ และไม่สามารถกลับไปนอนต่อได้ การตื่นก่อนเวลาเช้าตรู่ รวมไปถึงการนอนที่ไม่รู้สึกสดชื่นเมื่อตื่o

 

อย่างไรก็ตาม หากท่านลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดังกล่าวแล้ว ยังเกิดปัญหานอนไม่หลับเช่นเดิม แนะนำให้ท่านเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาสาเหตุของอาการนอนไม่หลับ และรับการรักษาอย่างถูกต้องตามลำดับ

 

ขอขอบคุณ

ข้อมูลอ้างอิงจากhttps://www.bumrungrad.com/

วันนี้จะพาทุกคนไปเช็กสุขภาพกันค่ะ ว่าด้วยเรื่องของ สัญญาณเตือน เสี่ยงโรคสมองเสื่อม โบราณว่าไว้ว่า “ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ” เชื่อว่า ทุกคนก็อยากมีสุขภาพดีกันทั้งนั้นใช่ไหม แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เจ้าโรคเนี้ย ดีขึ้นมาหน่อยตรงที่มันจะเลือกคนค่ะ เลือกเกิดเฉพาะในผู้สูงอายุซะส่วนใหญ่ ดังนั้น ถ้าที่บ้านใครมีผู้สูงอายุ ให้ลองสังเกตอาการ คุณปู่ คุณย่า คุณตา คุณยาย กันดูก่อนนะคะ ว่าแล้วก็อย่าให้เสียเวลา ป่ะคุณ  ไปเช็กให้รู้ ไปเช็กให้ชัวร์ ไปเช็กให้สบายใจกันไปเลย

 

อาการของโรคสมองเสื่อม

อาการเริ่มต้นของโรคสมองเสื่อมที่รู้จักกันทั่วไป ได้แก่ อาการหลงลืม โดยในระยะเริ่มแรกอาจจะยังไม่เป็นปัญหาต่อการทำงานหรือการใช้ชีวิต ซึ่งเราเรียกภาวะนี้ว่าMild Cognitive Impairment โดยลักษณะของผู้ที่มีภาวะนี้ ได้แก่

  • มีอาการหลงลืมในสิ่งที่เพิ่งได้คุยกัน
  • การทำงานหรือการตัดสินใจช้าลง
  • ส่วนผู้ป่วยที่เริ่มเป็นโรคสมองเสื่อมจะมีอาการหลงลืมที่มากขึ้น เช่น
  • มีอาการถามซ้ำ หรือพูดคุยในเรื่องที่ได้พูดไปแล้วบ่อยๆ
  • จำชื่อญาติสนิท หรือชื่อสิ่งของที่ใช้ในชีวิตประจำวันไม่ได้
  • ทำของหายบ่อยๆ
  • เลิกสนใจในสิ่งที่เคยชอบ

 

ถ้าผู้ป่วยมีอาการมากขึ้น จะมีการนอนหลับ การตื่นที่ผิดเวลา ไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันบางอย่างได้อย่างถูกต้อง เช่น การแต่งตัว ทำอาหาร ขับรถ อาจมีอาการลืมในสิ่งที่เพิ่งได้ทำไป เช่น

  • ลืมว่ารับประทานอาหารไปแล้ว
  • ลืมว่าเพิ่งได้ไปสถานที่ใดมา
  • หลงทางเมื่ออยู่ในสถานที่ที่ไม่คุ้นเคย
  • ผู้ป่วยบางรายอาจไม่สามารถอ่านหรือเขียนหนังสือได้อย่างถูกต้อง ใช้คำผิดในการสนทนา
  • มีการตัดสินใจที่ผิดพลาดในสิ่งที่สามารถเป็นอันตรายต่อผู้ป่วย เพราะขาดความยั้งคิด
  • ผู้ป่วยอาจมีภาพหลอนหรืออาการหลงผิด เช่น คิดว่าจะมีคนเข้ามาขโมยของในบ้าน

 

ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการมากจะไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันด้วยตัวเองได้ ต้องมีคนคอยช่วยเหลือ เช่น อาบน้ำ แต่งตัว รับประทานอาหาร มีความผิดปกติในการเคลื่อนไหว และไม่สามารถจำสมาชิกในครอบครัวได้ เป็นต้น

 

 

การรักษาโรคสมองเสื่อม

การรักษานั้นขึ้นอยู่กับสาเหตุเป็นหลัก โดยผู้ป่วยที่ภาวะสมองเสื่อมเกิดจากความเสื่อมของเซลล์ประสาท การรักษาจะประกอบด้วยการให้ยาที่ทำให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้นและชะลอการดำเนินโรคให้ช้าลง ซึ่งมักจะได้ผลกับผู้ป่วยในระยะเริ่มแรก ร่วมกับการให้ยารักษาอารมณ์และพฤติกรรมที่ผิดปกติในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ส่วนผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมเกิดจากสาเหตุอื่นๆ ที่ไม่ได้เกิดจากความเสื่อมของเซลล์ประสาทนั้น จะเป็นการรักษาสาเหตุของโรคเป็นหลัก

 

ลดปัจจัยเสี่ยง เลี่ยงโรคสมองเสื่อม

เนื่องจากปัจจุบัน สาเหตุของโรคสมองเสื่อมที่เกิดจากการเสื่อมของเซลล์ประสาทสมอง เช่น อัลไซเมอร์ ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด ดังนั้น การป้องกันโรคสมองเสื่อมดังกล่าวทำได้เพียงการลดปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับโรคสมองเสื่อม เช่น การออกกำลังกาย และมีกิจกรรมทำอย่างสม่ำเสมอ การอ่านหนังสือ การวาดรูป การเล่นเกม การฝึกสมอง การรักษาโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง เป็นต้น

 

ขอขอบคุณ

ข้อมูลอ้างอิงจากhttps://www.sukumvithospital.com/

มาทำความรู้จักกับCoenzyme Q10หรือCoQ10  Coenzyme Q10หรือCoQ10เป็นสารคล้ายวิตามินที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะมีบทบาทในการเพิ่มพลังงานให้แก่เซลล์ที่ใช้เป็นพลังงานในร่างกาย เป็นสารสำคัญในการสังเคราะห์ATP ซึ่งเปรียบได้กับขุมพลังงานของเซลล์ต่าง ๆ ทั่วร่างกายCoQ10เป็นตัวต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูง ช่วยปกป้องเซลล์จากการถูกทำลายโดยอนุมูลอิสระ จึงมีส่วนในการช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคต่าง ๆ ได้

 

CoQ10เป็นสารที่ร่างกายสามารถผลิตได้เองโดยธรรมชาติและมีความจำเป็นต่อร่างกายCoQ10จะพบในเซลล์ทุกเซลล์ที่มีชีวิตในร่างกายโดยจะอยู่ที่ส่วนเยื่อหุ้มของไมโตคอนเดรีย (Mitochondrial) ที่ทำหน้าที่ในการผลิตพลังงานให้กับเซลล์ต่าง ๆ ในรูปของATP (Adenosine Triphosphate) ซึ่งเป็นพลังงานพื้นฐานของเซลล์ต่าง ๆ นั่นเอง

 

CoQ10จะถูกพบมากในอวัยวะที่ต้องการพลังงานสูงซึ่งจะมีจำนวนไมโตคอนเดรียเป็นจำนวนมาก เช่น หัวใจ ตับ กล้ามเนื้อ สมอง ส่วนอวัยวะอื่น ๆ ก็พบได้เช่นกันแต่พบค่อนข้างน้อย เนื่องจากอวัยวะนั้น ๆ ต้องการพลังงานน้อยจึงมีจำนวนไมโตคอนเดรียน้อย ทำให้CoQ10ที่อยู่ในส่วนเยื่อหุ้มของไมโตคอนเดรีย น้อยตามไปด้วยนั่นเอง

 

ทั้งนี้ การที่ระดับของCoQ10ลดลง จะส่งผลเสียให้ร่างกายไม่สามารถแปลงพลังงานจากอาหารที่เรารับประทานเข้าไป ให้อยู่ในสภาพที่ร่างกายจะนำไปใช้ได้ จึงทำให้เกิดการเจ็บป่วย ร่างกายอ่อนเพลีย และอาจเกิดระบบภูมิคุ้มกันเสื่อมสภาพตามมาได้อีกด้วย

 

ร่างกายได้รับCoQ10มาจากที่ไหนบ้าง

 

CoQ10ตามธรรมชาติของร่างกาย สามารถเกิดขึ้นเองภายในเซลล์ของอวัยวะที่ต้องการพลังงานสูงเช่น หัวใจ ตับ ไต และยังพบที่เซลล์อื่น ๆ อีก เช่น ที่ผิวหนังชั้นหนังกำพร้า และหนังแท้ ซึ่งก็จะพบในจำนวนที่แตกต่างกันออกไปตามจำนวนของไมโตคอนเดรีย (Mitochondrial) เนื่องจากCoQ10อยู่ที่ส่วนเยื่อหุ้มของไมโตคอนเดรียนั่นเอง

 

 

นอกจากนี้ร่างกายยังสามารถได้รับCoQ10จากการรับประทานอาหารดังนี้

 

อาหารจำพวกปลาที่ส่วนเนื้อมีไขมันเป็นองค์ประกอบมาก เช่น น้ำมันปลา ปลาทะเลน้ำลึก ปลาทู ปลาซาบะ ปลาซาร์ดีน ปลาแมคเคอเรล ปลาแซลมอน

เนื้อสัตว์ประเภทไก่ ไข่ เนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ ตับ ไต หัวใจ

ถั่ว เมล็ดธัญพืชที่ไม่ขัดขาว

ผลไม้เปลือกแข็งผักเช่น บล็อคโคลี่ ปวยเล้ง

อาหารทะเล ผลิตภัณฑ์จากนม น้ำมันถั่วเหลือง ผัก รำข้าว ซีเรียล

 

CoQ10มีความสำคัญต่อร่างกายอย่างไร

 

คุณสมบัติเด่นของCoQ10คือเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระ สามารถชะลอความเสื่อมโทรมของร่างกายได้ โดยเฉพาะบริเวณผิวหนังที่CoQ10จะช่วยสร้างพลังงานให้กับผิวเพื่อใช้ในการแบ่งเซลล์ผิวหนังใหม่ๆเพิ่มมากขึ้นทดแทนเซลล์ผิวเก่าที่เสื่อมสภาพไป ทำให้ริ้วรอยต่าง ๆ สามารถลดลงและเลือนหายไปได้

และนอกเหนือจากคุณสมบัติในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และชะลอความเสื่อมโทรมของร่างกายได้แล้วนั้นCoQ10ยังมีคุณสมบัติในการมีส่วนช่วยให้การทำงานของหัวใจดีขึ้น เสริมระบบภูมิคุ้มกันให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถป้องกันและรักษาโรคเหงือก โรคความดันโลหิตสูง โรคคลอเรสเตอรอลสูง และ ยังมีประโยชน์อีกมากมาย ดังนี้

 

CoQ10สารต้านอนุมูลอิสระที่พบได้ในทุกเซลล์ของสิ่งมีชีวิต มีความสำคัญอย่างมากต่อการสร้างพลังงานให้แก่เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย ดังนั้นจึงมีคุณสมบัติเกี่ยวกับการลดการเกิดริ้วรอยตามวัย และชะลอการเสื่อมของเซลล์ผิวหนังจากรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) ในแสงแดดได้ โดยCoQ10เป็นสารต้านออกซิเดชั่น (Antioxidant) จะไปป้องกันไม่ให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นที่จะทำให้อนุมูลอิสระไม่สามารถที่จะทำอันตรายต่อผิวหนังได้ ทั้งนี้CoQ10พบได้มากที่ผิวหนังชั้นนอก (Epidermis) มากกว่าที่ผิวหนังชั้นใน (Dermis) ซึ่งผิวหนังชั้นนอกเป็นชั้นที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากรังสีUVA การมีCoQ10บริเวณผิวหนังชั้นนอกจึงเป็นข้อดีอีกประการหนึ่งที่จะช่วยขจัดอนุมูลอิสระซึ่งเป็นสาเหตุของริ้วรอยและความหมองคล้ำได้นั่นเอง นอกจากนี้CoQ10ยังเปรียบเสมือนแหล่งผลิตพลังงานชั้นดีให้กับเซลล์ผิวหนังอีกด้วย

CoQ10มีความสำคัญอย่างมากต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เพราะถ้าหากร่างกายขาดCoenzyme Q10เซลล์ในร่างกายจะหยุดทำงานทันที เพราะไม่สามารถผลิตพลังงานต่าง ๆ ให้แก่เซลล์ได้นั่นเอง

CoQ10มีคุณสมบัติคล้ายกับวิตามินอี คือ ช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ และช่วยเพิ่มพลังงานที่สำคัญให้แก่ร่างกาย รวมถึงช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันต่าง ๆ ในร่างกายให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

CoQ10มีส่วนช่วยในโรคเกี่ยวกับเหงือก เนื่องจากเหงือกทำหน้าที่ในการยึดและพยุงฟันให้คงอยู่อย่างสมดุลในช่องปาก และโรคเหงือกที่เป็นปัญหาและพบได้บ่อย ๆ ล้วนเกิดจากคราบจุลินทรีย์ที่ถูกปล่อยให้สะสมอยู่บนตัวฟัน ซึ่งจะไปกระตุ้นให้เกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อต่าง ๆCoQ10ในร่างกายจะมีคุณสมบัติในการช่วยลดและบรรเทาอาการเหงือกบวม รวมถึงอาการฟันโยก (Periodontitis) ได้ นอกจากนี้ยังสามารถช่วยรักษาโรคเหงือก และชะลอความผิดปกติและการดำเนินของโรคพาร์กินสันได้อีกด้วย

CoQ10สำคัญมากในผู้สูงอายุ เนื่องจากสภาพร่างกายจะเสื่อมโทรมตามอายุที่เพิ่มมากขึ้นนั่นเอง การรับประทานCoQ10จะช่วยในการสร้างพลังงานให้แก่เซลล์ และสร้างเซลล์ใหม่ ๆ ทดแทนเซลล์เก่าที่เสื่อมสภาพ ทำให้ร่างกายรู้สึกเหมือนมีพลังขึ้นมาทันที ทั้งนี้ในผู้สูงอายุโรคที่เกิดจากความเสื่อมของเซลล์ในร่างกาย เช่น โรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของระบบประสาท สามารถพบได้มากที่สุด การได้รับCoQ10เข้าไปในร่างกาย จะสามารถช่วยป้องกันโรคดังกล่าวได้เนื่องจากในCoQ10มี ฟีนีลอะลานิน (Phenylalanine) ซึ่งช่วยการทำงานของต่อมไทรอยด์ ให้กระตุ้นการเผาผลาญของร่างกาย ทำให้รู้สึกสดชื่นตื่นตัว ลดความซึมเศร้า ช่วยให้ความจำและระบบประสาททำงานได้ดีขึ้น  และCoQ10ยังมีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ จึงสามารถช่วยปกป้องการทำลายของอนุมูลอิสระในสมองได้อีกด้วย

CoQ10มีความสำคัญมากสำหรับผู้ที่มีปัญหากล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เพราะมีส่วนช่วยในการบรรเทาอาการเจ็บหน้าอกได้ดี ในผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือดสูงเกินไปCoQ10จะยับยั้งไม่ให้คอเลสเตอรอลจับเป็นก้อนอุดตันเส้นเลือด จึงสามารถใช้ในการรักษาโรคหัวใจได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวเนื่องจากเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอ (Congestive heart failure) ทั้งนี้เนื่องจากCoQ10ทำให้หัวใจทำงานได้ดียิ่งขึ้น ร่างกายส่วนอื่น ๆ ก็จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพไปด้วย เนื่องจากหัวใจสามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง

เนื่องจากCoQ10มีคุณสมบัติของการมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และมีคุณสมบัติในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกาย ทำให้CoQ10มีส่วนในการช่วยป้องกันและรักษาโรคมะเร็งได้  มีงานวิจัยที่พบว่าในผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับระดับคอเลสเตอรอลสูงในกระแสเลือด และผู้ที่ได้รับยากลุ่มStatin ควรจะรับประทานโคเอนไซม์Q10เพิ่มเติม เนื่องจากยากลุ่มดังกล่าวสามารถส่งผลต่อการยับยั้งการสร้างCoQ10ในร่างกายได้ จึงเป็นสาเหตุให้ระดับCoQ10มีไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายนั่นเอง

CoQ10ยังมีส่วนช่วยในการลดการเกิดอนุภาคออกซิไดซ์ของLDL ที่เป็นคอเลสเตอรอลตัวที่ไม่ดีในกระแสเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดอุดตันทำให้หัวใจขาดเลือดได้ และช่วยเพิ่มคอเลสเตอรอลตัวที่ดี คือHDL ในกระแสเลือด ซึ่งมีหน้าที่ในการขับคอเลสเตอรอลที่เกินความต้องการออกจากร่างกาย ดังนั้นยิ่งร่างกายมีHDL สูงจึงยิ่งเกิดผลดีต่อร่ายกายได้อีกด้วย การที่ร่างกายมีCoQ10อย่างเพียงพอ จึงมีความจำเป็นอย่างมากเพื่อคงความสมดุลและชะลอการเสื่อมสภาพของร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง

ปัจจัยที่ทำให้CoQ10ในร่างกายลดลง มีดังนี้

 

อายุ : ระดับของCoQ10ที่ร่างกายสามารถผลิตขึ้นได้เองตามธรรมชาติในเนื้อเยื่อต่าง ๆ จะมีปริมาณมากที่สุดเมื่ออายุประมาณ20ปีเท่านั้น และหลังจากนั้นจะค่อย ๆ ลดลงตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น สังเกตได้ง่าย ๆ จากการที่ผิวหนังบริเวณใบหน้ามีริ้วรอยเหี่ยวย่นตามวัยนั่นเอง

โรคบางชนิด : เช่น ภาวะหัวใจล้มเหลวจากเลือดคั่ง อาการปวดเค้นบริเวณหน้าอก กล้ามเนื้อหัวใจตาย ความดันโลหิตสูง โรคพาร์กินสัน และโรคหืด เป็นต้น ที่จำเป็นต้องได้รับประทานยาลดไขมันในกลุ่ม สแตติน (Statin) ซึ่งยากลุ่มนี้อาจเป็นสาเหตุให้ระดับของ CoQ10  ในร่างกายลงได้ เนื่องจากขั้นตอนการออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้างไขมันคอเลสเตอรอล จึงย่อมจะมีผลยับยั้งการสร้างโคเอนไซม์คิวเท็นไปด้วย

ผู้ที่เหมาะสมที่จะต้องเพิ่มCoQ10ให้แก่ร่างกาย

 

ผู้ที่ร่างกายอยู่ในภาวะอารมณ์เครียดและสับสน อาจเกิดจากการที่ร่างกายมีCoQ10ไม่เพียงพอ ส่งผลให้ระบประสาทและสมองทำงานได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ร่างกายจึงตอบสนองด้วยความเครียดและสับสนเนื่องจากขาดพลังงานสำคัญที่ช่วยในการคิดวิเคราะห์แก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง

ผู้ที่ทำงานหนัก และต้องการรักษาระดับพลังงานในร่างกายให้อยู่ในระดับปกติ เนื่องจากการทำงานอย่างหนักนั้นร่างกายย่อมต้องใช้พลังงานเป็นจำนวนมาก และเมื่อร่างกายสูญเสียพลังงานออกไปเป็นจำนวนมากยิ่งทำให้ร่างกายอ่อนล้า เหนื่อย เพลีย และอาจนำมาซึ่งการเจ็บป่วยได้ในที่สุด

ผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ เจ็บป่วย หรือภูมิคุ้มกันลดลง การที่ร่างกายเจ็บป่วยย่อมแสดงให้เห็นว่าระบบภูมิคุ้มกันร่างกายเสื่อมถอยลง ดังนั้นการเพิ่มCoQ10ให้แก่ร่างกายจึงเป็นการเพิ่มพลังงานและสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพ จึงส่งผลให้ร่างกายกลับมาแข็งแรงเป็นปกติได้ในที่สุดนั่นเอง

ผู้ที่มีความเสี่ยงเรื่องโรคหัวใจและความดันโลหิตสูง หากร่างกายมีCoQ10ไม่เพียงพอ จะส่งผลให้เซลล์ต่าง ๆ ในหัวใจทำงานไม่มีประสิทธิภาพ โดยเซลล์บางส่วนอาจไม่บีบตัวทำงาน ทำให้เซลล์ที่เหลือปรับตัวโดยบีบตัวให้ถี่ขึ้น ทำให้เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ ผู้ที่มีภาวะดังกล่าวจึงรู้สึกใจสั่น หัวใจเต้นแรง วิงเวียนศีรษะ เนื่องจากหัวใจสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ และอาจรู้สึกชาที่ปลายนิ้วมือนิ้วเท้า เพราะขาดเลือด รวมถึงมีอาการอ่อนเพลียและเหนื่อยง่ายมากกว่าปกตินั่นเอง

ผู้ที่กำลังต้องการพลังงานเพื่อต่อสู้กับโรคหรือเชื้อโรค เนื่องจากCoQ10มีคุณสมบัติของการมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และมีคุณสมบัติในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกาย ทำให้CoQ10มีส่วนในการช่วยป้องกันและรักษาโรคมะเร็ง รวมถึงโรคอื่น ๆ ได้

ผู้สูงอายุและนักกีฬา เนื่องจากCoQ10มีคุณสมบัติในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงมีผลทำให้กล้ามเนื้อของนักกีฬาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดอาการล้าของกล้ามเนื้อได้ ในผู้สูงอายุก็มีส่วนช่วยในการลดอาการปวดเมื่อยล้ากล้ามเนื้อได้เช่นเดียวกัน

ปริมาณของCoQ10ที่เหมาะสมในการแนะนำให้รับประทานเสริม

 

ในการรับประทานCoQ10เป็นอาหารเสริม ควรบริโภคในปริมาณ30-50มิลลิกรัมต่อวันCoQ10ในรูปของอาหารเสริม เป็นสารอาหารที่ละลายได้ดีในไขมัน

 

จึงควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในรูปของน้ำมันจึงจะสามารถทำให้ร่างกายดูดซึมได้ดีมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ควรเก็บให้พ้นแสง ในอุณภูมิปกติหรือเย็นแต่ห้ามแช่แข็งเนื่องจากอยู่ในรูปของน้ำมันนั่นเอง

 

สำหรับผู้ที่รับประทานยาสแตติน (Statin) เพื่อช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล จะมีส่วนทำให้CoQ10ในร่างกายลดลงได้อยู่แล้ว ซึ่งจะทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจมากยิ่งขึ้น ดังนั้นจึงควรรับประทานCoQ10ร่วมกับสแตตินด้วย โดยไม่ต้องหยุดการรับประทานยาสเตติน เนื่องจากการรับประทานCoQ10ยังไม่พบว่ามีผลข้างเคียงใด ๆ ทั้งในรูปแบบการรับประทานเดี่ยว ๆ และการรับประทานร่วมกับยาสแตติน

 

ทั้งนี้การรับประทานCoQ10อาจจะต้องใช้ระยะเวลานานกว่า2เดือนขึ้นไป กว่าจะเห็นผล และขนาดที่แนะนำให้รับประทานต่อวัน สำหรับวัยผู้ใหญ่คือ30มิลลิกรัม แต่สำหรับผู้ที่เป็นโรคชรา หรือเป็นโรคอื่น ๆ ควรรับประทาน50 – 100มิลลิกรัมต่อวัน

 

ผลข้างเคียงจากการรับประทานCoQ10คือ หากรับประทานมากเกินไปจะเกิดอาการ คลื่นไส้อาเจียน ผื่นคัน ปวดหัว ท้องเสีย เจ็บหน้าอก เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ มึนงง หงุดหงิด กระสับกระส่าย ตาแพ้แสง อ่อนเพลีย และครั่นเนื้อครั่นตัวได้ ซึ่งนั่นเป็นเพียงอาการข้างเคียงซึ่งเกิดจากการปรับระบบต่าง ๆ ในร่างกายเพื่อให้เข้าสู่ภาวะสมดุลนั่นเอง

 

ข้อห้ามในการรับประทานCoQ10

 

ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลในกระแสเลือดต่ำ เพราะการรับประทานCoQ10จะมีผลทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดยิ่งลดลงไปอีก เนื่องจากใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะน้ำตาลสูงนั่นเอง

ผู้ป่วยที่เป็นโรคเลือด เพราะCoQ10จะออกฤทธิ์ไปลดปริมาณเกล็ดเลือดได้ ทำให้เลือดออกได้ง่าย และหยุดยากมากกว่าคนปกติ

ผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตต่ำ เนื่องจากCoQ10มีส่วนช่วยในการขยายหลอดเลือดจึงมีผลดีต่อการลดความดันโลหิต ซึงถ้าผู้ป่วยมีความดันโลหิตต่ำอยู่แล้วก็จะยิ่งมีผลให้ความดันต่ำลงจนเกิดอันตรายได้

หญิงตั้งครรภ์ และแม่ที่ให้นมลูก เนื่องจากคุณแม่ที่เพิ่งตั้งครรภ์ หรือเพิ่งคลอด มีภูมิคุ้มกันต่ำ จึงไม่ควรที่จะเสี่ยงต่อการนำสารแปลกปลอมที่นอกเหนือจากที่ร่างกายผลิตขึ้นเองได้มาใช้ เพราะอาจส่งผลให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ตามมาได้

ยาที่ควรระมัดระวังการใช้ร่วมกับโคเอนไซม์คิวเทน

 

ยารักษาโรคมะเร็ง เช่น ยาเคโมเทอร์ราปี (Chemotherapy) CoQ10เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ พบว่าสารต้านอนุมูลอิสระอาจมีผลลดประสิทธิภาพของยาบางชนิดที่ใช้รักษาโรคมะเร็ง

ยาลดความดันโลหิต เช่น ยาCaptopril, ยาEnalapril , ยาLosartan, ยาValsartan, ยาDiltiazem, ยาAmlodipine, ยาHydrochlorothiazide และยาFurosemide(Lasix®) เนื่องจากCoQ10มีผลลดความดันโลหิต ดังนั้น การใช้โคเอนไซม์คิวเทนร่วมกับยาลดความดันโลหิต ควรระมัดระวังการเกิดความดันโลหิตต่ำเกินไปจนอาจเป็นลมได้

ยาวาร์ฟาริน (Warfarin: Coumadin®) ยานี้ใช้เพื่อชะลอการแข็งตัวของเลือด โดยCoQ10ออกฤทธิ์ช่วยให้เลือดแข็งตัว ดังนั้นการใช้CoQ10อาจลดประสิทธิภาพของยาได้ ดังนั้น หากมีปัญหาการแข็งตัวของเลือดผิดปกติอยู่แล้ว ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้CoQ10นั่นเอง

**อ้างอิงข้อมูลยาที่ควรระมัดระวังการใช้ร่วมกับโคเอนไซม์คิวเทน :https://www.honestdocs.co/coenzyme-q10