หลายคนน่าจะเคยมีอาการปวดคอ ปวดหลัง แล้วลามมาจนถึงหัวไหล่ กันมาบ้าหลายคนน่าจะเคยมีอาการปวดคอ ปวดหลัง แล้วลามมาจนถึงหัวไหล่ กันมาบ้างใช่ไหมคะ? หลายคนอาจคิดว่าเป็นอาการปกติ ไม่ได้ใส่ใจอะไรแต่จริง ๆ แล้ว อาการปวดที่กำลังคุกคามชีวิตประจำวันของเราอยู่นี้ อาจไม่ใช่อาการปกติก็ได้ เพราะเสี่ยงเป็น “โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท”
ดังนั้น ทุกท่านอย่าได้นิ่งนอนใจ เช็กตัวเองด่วนค่ะ และควรไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะดีกว่านะคะงใช่ไหมคะ? หลายคนอาจคิดว่าเป็นอาการปกติ ไม่ได้ใส่ใจอะไรแต่จริง ๆ แล้ว อาการปวดที่กำลังคุกคามชีวิตประจำวันของเราอยู่นี้ อาจไม่ใช่อาการปกติก็ได้ เพราะเสี่ยงเป็น “โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท” ได้ ดังนั้น ทุกท่านอย่าได้นิ่งนอนใจ เช็กตัวเองด่วนค่ะ และควรไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะดีกว่านะคะ
โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท คืออะไร?
โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เป็นโรคที่เกิดจากหมอนรองกระดูกที่อยู่บริเวณกระดูกสันหลังถูกทำลาย ได้รับบาดเจ็บ หรือเสื่อมสภาพ ทำให้หมอนรองกระดูกแตกและมีกระดูกอ่อนส่วนที่อยู่ภายในหมอนรองกระดูกโผล่ออกมา จนกดทับเส้นประสาทซึ่งอยู่ด้านหลังหมอนรองกระดูก จึงทำให้มีอาการปวดเฉพาะที่ เช่น อาการปวดหลังไม่หาย ปวดบริเวณเอวด้านล่างถึงสะโพกหรือต้นขาด้านหลัง ผู้ป่วยจะมีอาการปวดขา รู้สึกชา อ่อนแรง หรือเจ็บบริเวณแนวเส้นประสาทที่ถูกกดทับ ยิ่งกดทับมากเท่าไร อาการปวดจะเพิ่มมากขึ้น อาจลุกลามจนปวดตลอดเวลาได้
พฤติกรรม “เสี่ยง” หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท พฤติกรรมเสี่ยงที่นำไปสู่อาการที่ว่า มีดังนี้
- เป็นผู้ที่มีภาวะอ้วนลงพุง และมีน้ำหนักตัวมากจนเกินไป น้ำหนักที่มากจะทำให้หลังต้องรับน้ำหนักมากเช่นกัน หลังแอ่น และกระดูกสันหลังช่วงล่างต้องรับน้ำหนักที่มากตลอดเวลา ทำให้หมอนรองกระดูกมีโอกาสเสื่อม แตก ปลิ้นได้ง่าย
- การยกของหนัก เพราะต้องใช้กล้ามเนื้อหลังแทนกล้ามเนื้อขาและต้นขา เป็นสาเหตุให้กระดูกบิดหรือเคลื่อนได้ หรือเกิดอุบัติเหตุที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อกระดูก
- ขาดการออกกำลังกาย ทำให้กล้ามเนื้อลีบ ฝ่อ ไม่แข็งแรง
- การใช้ร่างกายผิดท่าเป็นประจำ เช่น การนั่งท่าเดิมนานๆ การนั่งไม่ถูกท่า การก้มยกของโดยไม่ระมัดระวัง การสะพายกระเป๋าหนักๆ ด้วยไหล่ข้างเดียว การนอนคว่ำอ่านหนังสือ เป็นต้น ดังนั้น ก่อนใช้ร่างกายควรจัดระเบียบท่าทางร่างกายให้เหมาะสมกับกิจกรร
- การสูบบุหรี่จัด มีผลทำให้ออกซิเจนไปเลี้ยงหมอนรองกระดูกหรือกระดูกสันหลังได้ไม่ดีเท่าที่ควร กระดูกสันหลังจึงสูญเสียความยืดหยุ่นและเสื่อมสภาพ เป็นต้น
โดยส่วนใหญ่แล้วล้วนมาจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวันของตัวเราเองทั้งสิ้น จนทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยก่อนวัยอันควร พบได้บ่อยในกลุ่มคนวัยทำงานและกลุ่มผู้สูงอายุ เนื่องจากความเสื่อมสภาพของร่างกายไปตามเวลา นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมได้อีกด้วย
ขอขอบคุณ
ข้อมูลอ้างอิงจาก โรงพยาบาลพญาไท