Prich99
พีริช มาร์เก็ตติ้ง 99 จำกัด

Search
Close this search box.

สัญญาณเตือน เสี่ยงโรคสมองเสื่อม

วันนี้จะพาทุกคนไปเช็กสุขภาพกันค่ะ ว่าด้วยเรื่องของ สัญญาณเตือน เสี่ยงโรคสมองเสื่อม โบราณว่าไว้ว่า “ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ” เชื่อว่า ทุกคนก็อยากมีสุขภาพดีกันทั้งนั้นใช่ไหม แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เจ้าโรคเนี้ย ดีขึ้นมาหน่อยตรงที่มันจะเลือกคนค่ะ เลือกเกิดเฉพาะในผู้สูงอายุซะส่วนใหญ่ ดังนั้น ถ้าที่บ้านใครมีผู้สูงอายุ ให้ลองสังเกตอาการ คุณปู่ คุณย่า คุณตา คุณยาย กันดูก่อนนะคะ ว่าแล้วก็อย่าให้เสียเวลา ป่ะคุณ  ไปเช็กให้รู้ ไปเช็กให้ชัวร์ ไปเช็กให้สบายใจกันไปเลย

 

อาการของโรคสมองเสื่อม

อาการเริ่มต้นของโรคสมองเสื่อมที่รู้จักกันทั่วไป ได้แก่ อาการหลงลืม โดยในระยะเริ่มแรกอาจจะยังไม่เป็นปัญหาต่อการทำงานหรือการใช้ชีวิต ซึ่งเราเรียกภาวะนี้ว่าMild Cognitive Impairment โดยลักษณะของผู้ที่มีภาวะนี้ ได้แก่

  • มีอาการหลงลืมในสิ่งที่เพิ่งได้คุยกัน
  • การทำงานหรือการตัดสินใจช้าลง
  • ส่วนผู้ป่วยที่เริ่มเป็นโรคสมองเสื่อมจะมีอาการหลงลืมที่มากขึ้น เช่น
  • มีอาการถามซ้ำ หรือพูดคุยในเรื่องที่ได้พูดไปแล้วบ่อยๆ
  • จำชื่อญาติสนิท หรือชื่อสิ่งของที่ใช้ในชีวิตประจำวันไม่ได้
  • ทำของหายบ่อยๆ
  • เลิกสนใจในสิ่งที่เคยชอบ

 

ถ้าผู้ป่วยมีอาการมากขึ้น จะมีการนอนหลับ การตื่นที่ผิดเวลา ไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันบางอย่างได้อย่างถูกต้อง เช่น การแต่งตัว ทำอาหาร ขับรถ อาจมีอาการลืมในสิ่งที่เพิ่งได้ทำไป เช่น

  • ลืมว่ารับประทานอาหารไปแล้ว
  • ลืมว่าเพิ่งได้ไปสถานที่ใดมา
  • หลงทางเมื่ออยู่ในสถานที่ที่ไม่คุ้นเคย
  • ผู้ป่วยบางรายอาจไม่สามารถอ่านหรือเขียนหนังสือได้อย่างถูกต้อง ใช้คำผิดในการสนทนา
  • มีการตัดสินใจที่ผิดพลาดในสิ่งที่สามารถเป็นอันตรายต่อผู้ป่วย เพราะขาดความยั้งคิด
  • ผู้ป่วยอาจมีภาพหลอนหรืออาการหลงผิด เช่น คิดว่าจะมีคนเข้ามาขโมยของในบ้าน

 

ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการมากจะไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันด้วยตัวเองได้ ต้องมีคนคอยช่วยเหลือ เช่น อาบน้ำ แต่งตัว รับประทานอาหาร มีความผิดปกติในการเคลื่อนไหว และไม่สามารถจำสมาชิกในครอบครัวได้ เป็นต้น

 

 

การรักษาโรคสมองเสื่อม

การรักษานั้นขึ้นอยู่กับสาเหตุเป็นหลัก โดยผู้ป่วยที่ภาวะสมองเสื่อมเกิดจากความเสื่อมของเซลล์ประสาท การรักษาจะประกอบด้วยการให้ยาที่ทำให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้นและชะลอการดำเนินโรคให้ช้าลง ซึ่งมักจะได้ผลกับผู้ป่วยในระยะเริ่มแรก ร่วมกับการให้ยารักษาอารมณ์และพฤติกรรมที่ผิดปกติในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ส่วนผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมเกิดจากสาเหตุอื่นๆ ที่ไม่ได้เกิดจากความเสื่อมของเซลล์ประสาทนั้น จะเป็นการรักษาสาเหตุของโรคเป็นหลัก

 

ลดปัจจัยเสี่ยง เลี่ยงโรคสมองเสื่อม

เนื่องจากปัจจุบัน สาเหตุของโรคสมองเสื่อมที่เกิดจากการเสื่อมของเซลล์ประสาทสมอง เช่น อัลไซเมอร์ ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด ดังนั้น การป้องกันโรคสมองเสื่อมดังกล่าวทำได้เพียงการลดปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับโรคสมองเสื่อม เช่น การออกกำลังกาย และมีกิจกรรมทำอย่างสม่ำเสมอ การอ่านหนังสือ การวาดรูป การเล่นเกม การฝึกสมอง การรักษาโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง เป็นต้น

 

ขอขอบคุณ

ข้อมูลอ้างอิงจากhttps://www.sukumvithospital.com/

แชร์บทความได้ที่

Facebook
Twitter
LinkedIn

บทความแนะนำ