Prich99
พีริช มาร์เก็ตติ้ง 99 จำกัด

Search
Close this search box.

ลำไส้อักเสบ เกิดขึ้นได้อย่างไร

ลำไส้อักเสบ เกิดขึ้นได้อย่างไร  โรคลำไส้อักเสบเรื้อรังกันค่ะ ว่าแต่โรคนี้มันเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับระบบในร่างกายของเราได้อย่างไร?อย่ามัวสงสัยเลยค่ะ ไปติดตามพร้อมกันเลย โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (Inflammatory Bowel Disease-IBD)เป็นกลุ่มโรคของการอักเสบในระบบทางเดินอาหาร แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ คือโรคลำไส้ใหญ่อักเสบ (Ulcerative Colitis)และโรคโครห์น (Crohn’s Disease)ซึ่งอาการลำไส้ใหญ่อักเสบ จะจำกัดอยู่เพียงบริเวณลำไส้ใหญ่ ขณะที่โรคโครห์น อาจเกิดขึ้นกับระบบทางเดินอาหารส่วนใดก็ได้ ตั้งแต่ปากไปจนถึงทวารหนัก ปกติมักเกิดที่ลำไส้เล็กส่วนปลายและลำไส้ใหญ่ส่วนต้น อย่างไรก็ตามทั้ง 2 โรคนี้ ส่งผลให้เกิดแผลและมีเลือดออกบริเวณระบบทางเดินอาหาร รวมถึงทำให้ลำไส้บีบตัวเร็วขึ้น ผู้ป่วยมักมีอาการปวดท้อง ท้องร่วงอย่างรุนแรง อ่อนเพลีย และน้ำหนักลด

 

อาการของโรคลำไส้อักเสบเรื้อรังมีอาการทั่วไป ดังนี้

  • ปวดเกร็งช่องท้อง
  • ท้องเสีย มีตั้งแต่ถ่ายเพียงไม่กี่ครั้งไปจนถึงถ่ายบ่อยมากตลอดทั้งวัน ส่วนใหญ่มีมูกเลือดปะปน
  • เป็นไข้
  • คลื่นไส้อาเจียน
  • อ่อนเพลีย
  • น้ำหนักลด
  • โลหิตจาง
  • อาจพบอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ปวดตามข้อต่อ การมองเห็นผิดปกติ หรือมีแผลในปาก  โดยอาการเหล่านี้มักเป็นๆ หายๆ  เรื้อรังเป็นปี และกลับมาเป็นซ้ำอีก

 

การรักษาโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง

  • ดูแลอาหารและโภชนาการ ยังไม่พบว่าอาหารชนิดใดที่สามารถรักษาหรือมีผลทำให้โรคลำไส้อักเสบเรื้อรังแย่ลง แต่การรับประทานอาหารครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญ
  • รับประทานยา เพื่อให้เยื่อบุลำไส้คืนสู่สภาพปกติ ผู้ป่วยควรรับประทานยาสม่ำเสมอและพบแพทย์ตามนัด เพื่อควบคุมอาการไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำอีก
  • ผ่าตัด กรณีที่ใช้ยารักษาแล้วแต่ไม่สามารถควบคุมอาการได้ หรือผู้ป่วยที่มีเลือดออกมาก แพทย์อาจพิจารณารักษาด้วยการผ่าตัด ส่วนใหญ่ในผู้ป่วยลำไส้อักเสบสามารถรักษาหายขาด แต่ไม่แนะนำในผู้ป่วยโรคโครห์น เนื่องจากเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ทั้งในลำไส้ใหญ่และลำไส้เล็ก อย่างไรก็ตามหากผู้ป่วยเรื้อรังที่เกิดพังผืดในลำไส้ จนเกิดภาวะลำไส้ตีบ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีภาวะขาดอาหาร แพทย์อาจพิจารณาผ่าตัดเป็นกรณีพิเศษ

 

โรคลำไส้อักเสบเรื้อรังอาจมีอาการไม่รุนแรง มักเป็นๆ หายๆ จนผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่ใส่ใจ และปล่อยทิ้งไว้โดยไม่พบแพทย์  หากเกิดภาวะอักเสบต่อเนื่องและไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อาจทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ เนื่องจากสูญเสียเกลือแร่ สารอาหาร และเลือดออกไปกับอุจจาระจำนวนมาก รวมถึงส่งผลให้ผู้ป่วยมีภาวะโลหิตจางและอาการแทรกซ้อนอื่นๆ จนมีโอกาสเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ในที่สุด

 

ขอขอบคุณ

ข้อมูลอ้างอิงจากhttps://www.samitivejhospitals.com

แชร์บทความได้ที่

Facebook
Twitter
LinkedIn

บทความแนะนำ